วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558
บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...
บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD เขียนโดย
บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...
บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD เขียนโดย
ตรุษจีน กับ การตลาดบ้านอสังหาฯไทย
ตรุษจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตรุษจีน (จีนตัวย่อ: 春节; จีนตัวเต็ม: 春節; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงอินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม
ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ
แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี พ.ศ. 2555 เป็น "ปีจีน" 4710, 4709 หรือ 4649
วันที่[แก้]
ปี | วันที่ | วันที่ | วันที่ |
---|---|---|---|
ปีชวด | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 25 มกราคม พ.ศ. 2563 |
ปีฉลู | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 | 26 มกราคม พ.ศ. 2552 | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 |
ปีขาล | 28 มกราคม พ.ศ. 2541 | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
ปีเถาะ | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | 22 มกราคม พ.ศ. 2566 |
ปีมะโรง | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 | 23 มกราคม พ.ศ. 2555 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 |
ปีมะเส็ง | 24 มกราคม พ.ศ. 2544 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | 29 มกราคม พ.ศ. 2568 |
ปีมะเมีย | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 | 31 มกราคม พ.ศ. 2557 | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 |
ปีมะแม | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570 |
ปีวอก | 22 มกราคม พ.ศ. 2547 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 | 26 มกราคม พ.ศ. 2571 |
ปีระกา | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 | 28 มกราคม พ.ศ. 2560 | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572 |
ปีจอ | 29 มกราคม พ.ศ. 2549 | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573 |
ปีกุน | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | 23 มกราคม พ.ศ. 2574 |
ปฏิทินสุริยจันทรคติจีนเป็นตัวกำหนดวันที่ของตรุษจีน ปฏิทินดังกล่าวยังใช้ในประเทศซึ่งรับเอาหรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฮั่น ที่โดดเด่น คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม และอาจมีบรรพบุรุษร่วมกันที่มีเทศกาลตรุษคล้ายกันนอกเอเชียตะวันออก เช่น อิหร่าน และในประวัติศาสตร์ ดินแดนชนบัลการ์
ในปฏิทินเกรโกเรียน แต่ละปีตรุษจีนมิได้ตรงกัน คือ อยู่ระหว่างวันที่ 21 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์ ในปฏิทินจีน เหมายันต้องเกิดในเดือนที่ 11 จึงหมายความว่า ตรุษจีนมักตรงกับเดือนดับครั้งที่สองหลังเหมายัน (น้อยครั้งที่เป็นครั้งที่สามหากมีอธิกมาส) ในประเพณีจีนโบราณ ลีชุนเป็นวันแรกในทางสุริยคติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งตรงกับประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์
ตรุษจีนทั่วโลก[แก้]
ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่ |
ตรุษจีนในประเทศไทย[แก้]
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
- วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
- วันไหว้
- ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
- ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
- ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
- วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" (橘) ไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ 吉 แปลว่า โชคลาภ หรือภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษากวางตุ้ง ส้มเรียกว่า "ก้าม" (柑) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง (金) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น 𡅕) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
ประเพณีปฏิบัติ[แก้]
- สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
คำอวยพร[แก้]
ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่
- 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ ซิงนี้หวกไช้; จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดจ๋าย; จีนแคะ: ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย; กวางตุ้ง: ซันจิงจู๋จี่ ซันหนินฟัดฉ่อย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
- 新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ; กวางตุ้ง:ซันหนิ่นฟายหลอก;ฮกเกี้ยน: ซินนี้ก๊วยหลก) นิยมใช้ในประเทศจีน
- 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: หย่งฮี้ฮวดจ๋าย; กวางตุ้ง: กุงเฮยฟัดฉ่อย)
- 過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย
- 大吉大利 (ฮกเกี้ยน: ตั่วเก็ตตั่วลี่) แปลว่า ความมงคลอันยิ่งใหญ่ ค้าขายได้กำไร
- 金玉满堂 (ฮกเกี้ยน: กิ้มหยกมั่วต๋อง) แปลว่า ทองหยกเต็มบ้าน
- 萬事如意 / 万事如意 (ฮกเกี้ยน: บ่านสู่หยู่อี่) แปลว่า หมื่นเรื่องสมปรารถนา
- 福壽萬萬年/ 福寿万万年 (จีนกลาง: ฝูเชี่ยวหวันวันเลี่ยน; ฮกเกี้ยน: ฮกซิ่วบันบั่นนี่) แปลว่า อายุยืนหมื่นๆ ปี
- 大家好運氣 / 大家好运气(จีนกลาง: ต้าจาห่าวเยียนชี; ฮกเกี้ยน: ต้าเก่โฮ่อุ๊นคิ) แปลว่า โชคดีเข้าบ้าน
- 年年大賺錢 / 年年大赚钱 (ฮกเกี้ยน: หนีนี้ตั๊วถั่นจี๋) แปลว่า ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น↑ เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2541. หน้า 73, 272. ISBN 978-974-246-307-6
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ: Chinese New Year |
- Yaowarat Map info เยาวราช แผนที่ ตรุษจีน
- Thailand information weather important phone call calendar ข้อมูล ประเทศไทย อากาศ ปฏิทิน
- จัดเครื่องเซ่นไหว้บูชา หยกอ๋องซ่งเต้
|
หมวดหมู่:
ม.ค.57เงินสะพัด1.6แสนล. เลือกตั้งทรุดตรุษจีนไม่ฟู่ฟ่า | |||||||
ศูนย์พยายากรณ์เศรษฐกิจ ประเมินรายได้เทศกาลปีใหม่พุ่งสูงสุด ที่ระดับ 1.1 แสนล้าน รองลงมาคือตรุษจีน คาดไม่ต่ำกว่า 4.7 หมื่นล้าน ขณะที่ เลือกตั้ง คาดว่าจะได้เม็ดเงินไม่ถึง 1 หมื่นล. ต่ำกว่าที่คาด 3 - 4 หมื่นล. เหตุการเมืองยังไม่นิ่ง พรรคการเมืองไม่กล้าทุ่มงบโฆษณา นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้จะมีเงินจากการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 47, 744.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากตรุษจีนปีก่อนที่มีการใช้จ่าย 45,081.06 ล้านบาท เนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่ปริมาณการซื้อสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ขณะที่ความเสียหายจากการปิดกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ประมาณวันละ 700 -1, 000 ล้านบาท หรือส่วนความเสียหายจากการท่องเที่ยวจะอยู่ที่ประมาณสัปดาห์ละ 5,000 - 7,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่หากสถานการณ์การเมืองยังไม่รุนแรงกว่าที่เป็นอยู่จะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก ทั้งนี้ คาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ประมาณ 3 - 4% เช่นเดิม นายธนวรรธน์ กล่าวต่อถึงกรณีที่คณะกรรมการนโย บายการเงิน (กนง.) ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ว่า เศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จึงไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากค่าเงินบาทยังทรง ๆ อยู่ที่ไม่เกิน 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แสดงว่ายังไม่มีเงินไหลออกอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เชื่อว่าในระหว่างการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 เดือนนี้จะไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยทรุดลง ยกเว้นหากเกิดผลทางจิตวิทยาในเชิงลบของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ เช่น สถานทูตหลายประเทศประกาศเตือนนักท่องเที่ยวมาไทยมากขึ้น หรือเพิ่มระดับความรุนแรงของการเดินทางมาไทย นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหา วิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 57 ว่า ในช่วงปีใหม่นี้จะมีเงินสะพัดรวม 111,757 ล้านบาทเพิ่มจากปีก่อน 5.6% แบ่งเป็นการเลี้ยงสังสรรค์ 8,222 ล้านบาท, ทำบุญ 8,957 ล้านบาท, ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 12,840 ล้านบาท, ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย 739 ล้านบาท , ซื้อสินค้าคงทน 1,536 ล้านบาท, เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ 50,617 ล้านบาท และ ท่องเที่ยวในต่างประเทศ 28,841 ล้านบาท “แม้เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในภาวะซบเซาและอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ก็ยังทำให้บรรยากาศการใช้จ่ายมากกว่าปีก่อน แต่หากสถานการณ์ความขัดแย้งสิ้นสุดลงเชื่อว่าบรรยากาศการใช้จ่ายในเทศกาลคงจะเพิ่มขึ้นกว่านี้” อย่างไรก็ตาม หากแบ่งตามพื้นที่การใช้จ่ายของประชาชน จะพบว่าคนกรุงเทพฯ มีแผนการใช้จ่ายรวม 53,985 ล้านบาท และคนต่างจังหวัดมีแผนการใช้จ่ายรวม 57,771 ล้านบาท ส่วนของขวัญยอดนิยมในช่วงปีใหม่ ได้แก่ กระเช้าผลไม้ มากสุดที่ 13.8% รองลงมาเป็น เงินสด/เช็คของขวัญ 12.3% , กระเช้าทั่วไป 11.4%, ของรับประทาน 8% และเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย 8% “เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ 57 เทียบกับปี’56 คนส่วนใหญ่ 48.6% บอกว่ามีแผนใช้จ่ายเท่าเดิม, ส่วน 34.3% มีแผนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น, และ อีก 17.1% วางแผนที่จะใช้จ่ายน้อยลง” นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้สะท้อนว่า มุมมองของประชาชนมองเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก จึงระมัดระวังการใช้จ่าย ไม่ซื้อสินค้าคงทน ซึ่งก็จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงต้นปีหน้าขยายตัวได้ต่ำ โดยเฉพาะหากไม่สามารถลดภาษีสรรพ สามิตน้ำมันดีเซล ที่จะสิ้นสุดเดือน ธ.ค. นี้ต่อไปอีก จะทำให้ราคาน้ำมันดีเซล ปรับขึ้นทันทีลิตรละ 5 บาทตั้งแต่เดือน ม.ค. 57 ก็จะยิ่งมีผลกระทบทันทีต่อกำลังซื้อ และต้นทุนการผลิต ขณะที่กระแสการเลือก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ลดลงกว่าที่คาดเอาไว้มาก ซึ่งเดิมคาดว่าจะมีเงินสะพัด 4-5 หมื่นล้านบาท ลดลงมาเหลือไม่เกิน 10,000 ล้านบาท เนื่องจากบรรยากาศในการหาเสียงของพรรคการเมืองซบเซามาก ส่งผลทำให้พรรคการเมืองมีการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยว ข้องในอัตราต่ำ เช่น การทำโปสเตอร์หาเสียง สิ่งพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ รวมไปถึงการจัดทำผ้าสำหรับทีมงานในการหาเสียง เครื่องดื่มการเช่ารถยนต์และจักรยานยนต์ในการหาเสียง เครื่องเสียง และการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาผู้สมัครส.ส. ส่วนใหญ่มีการใช้เงินทั้งบนดินและใต้ดินประมาณ 20-30 ล้านบาท แต่บรรยากาศทางการเมืองที่ซบเซา ทำให้ครั้งนี้คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยเพียง 1-2 ล้านบาท ยกเว้นพื้นที่การแข่งขันดุเดือด แต่คงมีไม่มาก ขณะที่บางรายอาจใช้เงินไม่ถึง 1 ล้านบาทด้วยซ้ำ เนื่องจากกังวลว่าจะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น “จะเห็นว่า ป้ายหาเสียงมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายเบอร์ 15 ของพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคอื่น อย่างภูมิใจไทย ชาติพัฒนา และชาติไทยพัฒนา มีบ้างแต่ก็ไม่เยอะ ส่วนต่างจังหวัดก็ไม่ค่อยมีการเปิดเวทีปราศรัย หรือไม่มีการแข่งขันกันรุนแรง ทำให้การใช้จ่ายของพรรคการเมือง ทั้งเรื่องบุคลากร การเช่ารถยนต์ การออกโฆษณาตามสื่อ หรือแม้แต่การซื้อเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ปริมาณน้อยลงมาก “ นายธนวรรธน์ กล่าว นอกจากนี้ตามปกติช่วงก่อนเลือกตั้ง 1 เดือน สื่อต่าง ๆ จะมีการประโคมข่าวของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการหาเสียงเลือกตั้งอย่างคึกคัก โดยเฉพาะในส่วนของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นคู่แข่งสำคัญ แต่มาครั้งนี้สื่อส่วนใหญ่ต่างให้ความสนใจในเรื่องการชุมนุมประท้วง เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศไทยก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เนื่องจากประชาชนทั่วโลกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น ๆ “ยอมรับว่า ภาคการบริโภคในช่วงต้นปีนี้ต้องหดตัวอย่างแน่นอน เพราะนอกจากประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพที่แพงแล้ว เศรษฐกิจในและต่างประเทศยังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองไม่มีความชัดเจน ก็กดดันการใช้จ่ายประชาชนให้น้อยลงไปอีก ขณะที่เม็ดเงินสะพัดจากการเลือกตั้ง เดิมคาดว่าน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.3-0.4% แต่ตอนนี้คงลำบาก เพราะพรรคการเมืองใช้จ่ายลดลง” นายธนวรรธน์ กล่าว |
วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558
การตลาดอสังหาฯ เชิงรุก แบบนักการเมืองท้องถิ่น การตลาด CSR กิจกรรม ดร.สมัย เหมมั่น ตอบแทนสังคม เพื่อรับรู้ปัญหาและการแก้ไขปรับปรุง ธุรกิจ เชิงกลยุทธ์ หลัก CSR
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน เน้น CSR
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน เน้น CSR
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน เน้น CSR
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน เน้น CSR
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน เน้น CSR
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
.....................................................................................
หลังจากมีผู้เสียชีวิต รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการปฎิบัติที่ญาติควรทราบเกี่ยวกับพิธีงานศพมีดังต่อไปนี้
1. การแจ้งตาย
2. การนำศพไปวัด
3. การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ
4. การจัดงานบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม
5. การบรรจุเก็บศพ
6. การฌาปนกิจศพ
7. การเก็บอัฐิ
8. การลอยอังคาร
- ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย แล้วนำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนัก ทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต(อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่โรงพยาบาลบางแห่งจะออกใบมรณบัตรให้เอง หรือช่วยดำเนินการให้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยญาติของผู้เสียชีวิต จะต้องนำทะเบียนบ้านไปให้โรงพยาบาลด้วย
- ถึงแก่กรรมที่บ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตที่บ้านเรือนนั้นตั้งอยู่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือ
พบศพ เพื่อขอใบมรณบัตร
- ถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือ ถูกฆาตกรรม เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ เพื่อทำหลักฐานการเสียชีวิต ภายในเวลา 24 ชั่งโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ โดยในระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือแพทย์ยังไม่ได้ตรวจศพ ห้ามเคลื่อนย้ายศพ หรือทำให้ศพเปลี่ยนสภาพ หรือนำยามาฉีดศพ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแพทย์ได้ตรวจชันสูตรศพแล้ว ญาติผู้เสียชีวิตจะต้องไปขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งขอใบชันสูตรศพจากแพทย์ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบีบนท้องถิ่น ในการขอใบบรณบัตร โดยแจ้งด้วยว่า จะนำศพไปบำเพ็ญกุศล ณ วัดใด โดยระบุในช่องที่ว่า เผา ฝัง เก็บ หรืออุทิศ
*** เมื่อได้ใบมรณบัตรมาแล้ว ควรถ่ายสำเนาเอกสารที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ออกใบมรณบัตรให้ แล้วให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาเอกสารด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนในมรณบัตรตัวจริงต้องนำไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้เสียชีวิตมี ภูมิลำเนาอยู่ พร้อมนำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้จำหน่ายได้ว่า เสียชีวิตเมื่อใด ทั้งนี้จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ ภายในเวลา 15 วัน ***
เมื่อติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพ หรือแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้ และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล
** ก่อนที่จะนำศพไปวัดควรจัดเตรียมเสื้อผ้าจากทางบ้านหรือโรงพยาบาลให้เรียบ ร้อยก่อน พร้อมจัดเตรียมผ้าแพรสำหรับคลุมศพและรูปภาพที่จะตั้งหน้าศพ **
*** ถ้าผู้ถึงแก่กรรมเป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พึงแจ้งไปยังต้นสังกัดของผู้นั้น แล้วเดินเรื่องไปยังกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ ต่อไป ***
หมายเหตุ : การขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ
ติดต่อ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง โทร. 0-2221-0873 , 0-2221-7182 และ 0-2222-2735
- เป็นการชำระร่างกายศพให้สะอาด และแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต ถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว เป็นหน้าที่ของบุตรธิดาโดยเฉพาะ ไม่นิยมเชิญคนภายนอก
- การอาบน้ำให้ศพกระทำด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วล้างด้วยน้ำเย็น ฟอกสบู่ ขัดถูร่างกายศพให้สะอาด
- เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้ว ก็เอาน้ำขมิ้นทาตามร่างกาย ตลอดถึงฝ่ามือฝ่าเท้าแล้วประพรมด้วยน้ำหอม
- ถ้าเป็นศพที่ตนเคารพนับถืออย่างยิ่ง เช่น บิดา มารดา ฯลฯ ก็นิยมเอาผ้าขาว หรือผ้าเช็ดหน้า ซับใบหน้า ฝ่ามือทั้งสองและฝ่าเท้าทั้งสอง เพื่อถอดเอารอยหน้ารอยฝ่ามือและฝ่าเท้า ไว้กราบไหว้บูชา หรือใช้เป็นผ้าประเจียด
- ต่อจากนั้นก็แต่งตัวศพ ตามฐานะของผู้ตาย เช่น เป็นข้าราชการก็แต่งเครื่องแบบเป็นต้น
- เมื่อแต่งตัวศพเสร็จเรียบร้อย จึงนำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอการรดน้ำต่อไป
นิยมตั้งเตียงไว้ด้ายซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านบนศรีษะของศพ นิยมให้ศพนอนหงายหันด้านขวามือของศพ หรือด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางผู้ที่มาแสดงความเคารพ และใช้ผ้าใหม่ๆหรือผ้าแพรคลุมตลอดร่างศพนั้นโดยเปิดหน้าและมือขวาไว้เท่า นั้น
- เจ้าภาพควรเตรียมน้ำอบ น้ำหอม พร้อมขันใส่น้ำผสมน้ำอบน้ำหอม และขันเล็กสำหรับตักน้ำยื่นให้แขก และขันขนาดใหญ่มีพานรองรับน้ำที่รดมือศพด้วย หรือจะขอร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานจัดเตรียมให้ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
- ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น นิยมให้เจ้าภาพ หรือเชิญผู้มีอาวุโสเป็นประธานในพิธีจุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจุดเครื่องทองน้อย (หรือธูปเทียน) ทางด้านศรีษะศพ แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป โดยเวลาที่นิยมในการรดน้ำศพโดยทั่วไปคือเวลา 16.00-17.00 น.
- นิยมให้ลูกหลาน ผู้ใกล้ชิด ทำการรดน้ำศพเสียก่อน ถึงเวลาเชิญแขกเพื่อมิให้คับคั่งเสียเวลารอคอยของแขกผู้มาแสดงความเคารพ
- เจ้าภาพควรจัดคนให้ทำหน้าหน้าที่คอยรับรองและเรียนเชิญแขกเข้ารดน้ำศพโดยนิยมให้ลูกหลาน หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพทำหน้าที่
- เมื่อแขกรดน้ำศพหมดแล้ว จึงเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ในที่นั้น เป็นผู้แทนรดน้ำศพ ด้วยน้ำหลวงอาบน้ำศพ หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นคนสุดท้าย
- เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั้น ได้รดน้ำหลวงอาบศพหรือได้รดน้ำศพแล้วถือกันว่าเป็นอันเสร็จพิธีรดน้ำศพ ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป
ประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพ ก่อนจะรับน้ำหลวงจากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ต้องถวายคำนับไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ 1 ครั้ง ก่อนรับน้ำหลวงอาบศพจากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เมื่อรับแล้ว ให้รดน้ำหลวงอาบศพ โดยเทตรงบริเวณทรวงอกศพ แล้วจึงรดน้ำขมิ้นกับน้ำอบไทย จากนั้นถวายความเคารพในทิศทางเดิม เป็นอันเสร็จพิธี
- ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าตน ก่อนจะทำพิธีรดน้ำศพ นิยมนั่งคุกเข่า น้อมตัวยกมือไหว้พร้อมกับนึกขอขมาโทษต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
- เมื่อยกมือไหว้ขอขมาโทษต่อศพจบแล้ว ก็ถือภาชนะสำหรับรดน้ำด้วยมือทั้งสอง เทน้ำลงที่ฝ่ามือขวาของศพพร้อมกับนึกในใจว่า "อิทัง มะตะกะสะรีรัง อิสิญจิโตทะกัง วิยะ อโหสิกัมมัง" (ร่างกายที่ตายไปแล้วนี่ ย่อมเป็นอโหสิกรรม ไม่มีโทษ เหมือนน้ำที่รดแล้วฉะนั้น)
- เมื่อรดน้ำศพเสร็จแล้ว นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับอธิฐานว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"
เมื่อเสร็จพิธีรดน้ำศพแล้ว สำหรับการจัดศพลงหีบนั้น นิยมมอบให้เจ้าหน้าที่ของวัด เป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย แล้วจะได้ตั้งบำเพ็ญกุศพต่อไป สำหรับศพที่ได้รับพระราชทานโกศหรือหีบหลวง ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ
- เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ตามไฟ (คือให้ตั้งตะเกียงมีโคมและหรี่ไฟไว้ที่ปลายเท้าศพ 1 ที่)
- ในพิธีทางราชการ เมื่ออาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบ นำขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว จะนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป (หรือ 20 รูป) สดับปรกรณ์ (บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพและญาติๆกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี
- สำหรับศพชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันนิยม นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป (หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ) เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพหรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (จะเป็นผ้าไตร จีวร สบง ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดหน้าก็ได้) เมื่อพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จพิธีการตั้งศพ
- กรณีหากผู้ตายเป็นผู้ใหญ่แห่งตระกูล และบริเวณบ้านเรือนกว้างขวางเหมาะสมแก่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้ ก็นิยมจัดตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน เพราะโดยมากก็นิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้เป็นเวลานานอย่างน้อยก็ครบ 100 วัน จึงจะทำพิธีพระราชทานเพลิงศพหรือทำการฌาปนกิจศพ
- กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่บ้านแต่สถานที่ที่บ้านไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ตั้ง ศพ มักนิยมนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดใดวันหนึ่งใกล้บ้าน หรือวัดที่เหมาะสมแก่ฐานะของผู้ตาย
- กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล นิยมนำศพไปจัดตั้งที่วัด เพราะถือกันว่าไม่ควรนำศพเข้าบ้านและถือปฎิบัติเช่นนั้นโดยทั่วไป
- การสวดพระอภิธรรม ประจำคืน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สวดหน้าศพ" นิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน
- โดยนิยมสวด 1 คืน , 3 คืน , 5 คืน , 7 คืน (ในบางรายหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จนครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจศพ)
- ตามประเพณีนิยมแต่โบราณ จะนิมนต์พระสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ พระสงฆ์ จะลงสวดเวลาตามแต่ละท้องถิ่น (ปกติจะนิยมเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.)
- ต้องจัดให้มีเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าสบงเพื่อถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุลให้ผู้เสียชีวิต (ปัจจุบัน ทางฌาปนสถานหรือทางวัด จะมีบริการจัดหาให้)
- ปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา
- ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขกที่มาฟังสวดทุกคืน
- ถ้าผู้ตายเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย นิยมเปิดโอกาสให้มีการจองเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป แล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีพระคุณ หรือ มีอุปการคุณแก่ตน ตามประเพณีนิยมของสังคม
- ตามประเพณีไทย ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพ จะมีการบำเพ็ญกุศลทำบุญครบรอบวันตาย (ครบ 7 วัน , 50 วัน , 100 วัน) แต่ปัจจุบันจะนิยมจัดงานบำเพ็ญกุศล 7 วัน
- ส่วนมากจะนิมนต์พระสงฆ์ โดยสวดพระพุทธมนต์และฉันเพล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย (โดยญาติ จะจัดอาหารจัด , เครื่องสังฆทานไทยธรรม มาเอง หรือให้ฌาปนสถานหรือทางวัดดำเนินการก็ได้)
- การบรรจุเก็บศพ จะกระทำในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรม โดยสวดศพจบสุดท้ายเสร็จแล้วจะนำศพไปเก็บที่สุสาน หรือ ที่ศาลา ... หลังจากสวดพระอภิธรรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอญาติหรือรอโอกาสอันเหมาะสม ที่จะทำการฌาปนกิจหรือบรรจุศพฝังไว้ในสุสานต่อไป
- ญาติจะกำหนดเองว่าจะเก็บศพวันใด กี่วัน โดยทำการตกลงกับทางวัดหรือฌาปนสถาน
- ญาติจะต้องเตรียมผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ใส่ถาดไว้เพื่อแจกแขกผู้มาร่วมงานคนละก้อน จะมีดอกไม้ด้วยก็ได้ (ปัจจุบัน ส่วนมากทางวัดหรือทางฌาปนสถาน จะมีบริการจัดหาให้)
- นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล 1 รูป ไว้ในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรมเพื่อดำเนินการบรรจุศพไว้ โดยประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถาน
- เจ้าหน้าที่จัดสถานที่ประกอบพิธีบรรจุศพ ณ บริเวณหน้าที่ตั้งศพ
- เชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล 1 ไตร (บางงานจะไปทอดผ้าบังสุกล ณ สถานที่เก็บศพ) แล้วนิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
- เชิญประธานในพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำและช่อดอกไม้บนพานหน้าศพเป็นอันดับแรก
- เชิญผู้ร่วมพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำและช่อดอกไม้บนพานหน้าศพ ตามลำดับ
- เมื่อทุกคนวางห่อดินและช่อดอกไม้เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเคลื่อนศพไปยังสถานที่เก็บศพ
- บรรดาญาติและผู้ที่เคารพนับถือ จะจุดธูปเทียนวางพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้เป็นอันดับสุดท้าย
- การฌาปนกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการฌาปนกิจศพที่แน่นอน แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถานก่อนทั้งนี้เพื่อเป็นการ เลือกจองวันและเวลาที่ต้องการ
- กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกวาระหนึ่ง โดยสวดก่อน 1 คืนแล้ววันรุ่งขึ้นจะทำพิธีฌาปนกิจ
- หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก เพียงแต่ยกศพขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในบ่าย แล้วทำการฌาปนกิจศพในตอนเย็น การกระทำเช่นนี้มักเรียกกันว่า "ตั้งเช้า เผาเย็น"
- ถ้าหากศพนั้นเป็นบุพการี สามี ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายอีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมให้อีก
ในวันที่จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ หรือฌาปนกิจศพ นั้น จะนิยมบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตายก่อน เช่น
- จัดพิธีบวชลูกหลานเป็นพระภิกษุหรือสามเณรที่เรียกว่า "บวชหน้าไฟ"
- นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูปสวดพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพล (อาจจะเลี้ยงพระเพิ่มจำนวนเท่าใดก็ได้)
- จัดให้มีพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
- นิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกา - บังสุกุล (จำนวนพระสงฆ์ 10 รูปหรือนิยมเท่าอายุผู้ตายหรือตามศรัทธา)
- ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เป็นเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลหน้าศพ
เจ้าภาพ จะต้องเตรียมอุปกรณ์หลักๆ ได้แก่
1. เครื่องไทยธรรม ผ้าสบงถวายพระสวดมนต์ฉันเพล
2. เครื่องไทยธรรมผ้าไตร และเครื่องติดกันเทศน์ถวายพระเทศน์
3. ผ้าไตรประธานเพื่อทอดบังสุกุล และมหาบังสุกุลก่อนทำการฌาปนกิจ
4. ผ้าสบงถวายพระสวดมาติกาบังสุกุลตามจำนวนพระสวด (ส่วนใหญ่มักจะนิมนต์ 10 รูป
แต่บางแห่งจะนิมนต์พระทั้งวัดหรือตามจำนวนอายุของผู้ตาย)
5. เตรียมดอกไม้จันทน์ให้กับแขกผู้มาร่วมงาน และดอกไม้จันทน์สำหรับประธานพิธี
(ปัจจุบันทางวัดหรือฌาปนสถาน จะมีบริการจัดเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้ทั้งหมด แต่
หากทางเจ้าภาพอยากจะจัดหามาเองก็ได้)
- หลังจากบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย ก่อนจะเคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุนั้น นิยมให้ลูกหลานคนใกล้ชิ้นผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ เพื่อเป็นการอภัยโทษที่เคยล่วงเกินต่อกัน โดยตั้งจิต หรือกล่าวคำขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน [อาจจะออกนามผู้ตามก็ได้] ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมด้วยเถิด)
- การเคลื่อนศพต้องนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เป็นผู้นำศพ เวียนรอบเมรุ 3 รอบ
- การเวียนต้องเวียนจากขวาไปซ้ายของเมรุ คือ เดินเวียนซ้ายเมรุ (เมรุอยู่ทางซ้ายมือของผู้เดิน) เริ่มจากบันไดหน้าเมรุ
- เจ้าภาพและญาติของผู้ตายต้องเดินเข้าขบวนตามศพเวียนรอบเมรุด้วย
- ถ้าศพนั้นมีรูปถ่ายของผู้ตาย ซึ่งนำไปตั้งไว้ในที่บำเพ็ญกุศล ก็ต้องมีผู้ถือรูปถ่ายนำหน้าศพไปในขบวน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ และมีคนถือเครื่องทองน้อยหรือกระถางธูปนำหน้าศพ
- ลำดับการแห่ศพ ถือหลัก "พระ-กระถางธูป-รูปภาพ-ศพ-ญาติมิตร"
- เมื่อได้นำศพเวียนรอบเมรุครบ 3 รอบแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพขึ้นตั้งบนเมรุ
- การทอดผ้าบังสุกุลนั้น เจ้าภาพจะต้องพิจารณาว่า แขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่เชิญไว้ มีจำนวนเท่าใดก็จัดผ้าไตรเท่ากับจำนวนแขกชั้นผู้ใหญ่ ส่วนจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นควรให้เป็นไปตามความเหมาะสม
- การเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุล เจ้าภาพจะต้องไปเชิญด้วยตนเอง โดยมีผู้ถือพานผ้าไตรตามเจ้าภาพไปด้วย
- แต่ถ้าแขกที่เป็นประธานเป็นผู้ใหญ่ชั้นสูง หรือเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของเจ้าภาพ ก็ควรถือพานผ้าไตรไปเชิญด้วยตนเอง
- เมื่อแขกผู้รับเชิญลุกจากที่นั่ง เจ้าภาพหรือผู้ถือพานผ้าไตรก็เดินตามแขกผู้นั้นไป
- เมื่อขึ้นบันไดเมรุแล้วก็ส่งมอบผ้าไตรให้ ผู้ทอดผ้าก็จะรับผ้าไตรนำไปวางลงตรงที่สำหรับทอดผ้า แต่ถ้าไม่มีการจัดที่สำหรับทอดผ้าไว้ ก็วางผ้าไตรนั้นลงบนหีบศพทางด้านหัวนอนศพ แล้วผู้ทอดผ้าก็คอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์จะมาชักผ้าบังสุกุล
- โดยลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุลนั้น จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานในพิธีขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นอันดับสุดท้าย
- เมื่อประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงต่อไป
- นิยมยืนตรง ห่างจากศพ ประมาณ 1 ก้าว
- ถ้าแต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมยืนตรงโค้งคำนับ
- ถ้ามิได้แต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมน้อมไหว้ พร้อมทั้งธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ที่อยู่ในมือ
(เฉพาะศพนั้นมีอาวุโสสูงกว่าตน หรือ มีอาวุโสรุ่นราวคราวเดียวกัน)
- ขณะที่ยืนตรงโค้งคำนับ หรือ น้อมไหว้นั้น ควรตั้งจิตขอขมาต่อศพนั้นว่า
"กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรด อโหสิกรรมให้แก่ ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
- เมื่อขอขมาต่อศพเสร็จแล้ว น้อมตัวลงวางธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ ที่เชิงตะกอน ในขณะนั้นควรพิจารณาตัวเองถึงความตาย ว่า "ร่างกายของมนุษย์เรานี้ ย่อมมีความตาย เป็นธรรมดาอย่างนี้ เป็นปกติอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความตายอย่างนี้ไปได้เลย" ดังคำพระที่ว่า "อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโต"
- เมื่อพิจารณาตัวเองระลึกนึกถึงความตายจบแล้ว ยืนตรง โค้งคำนับ หรือ ยกมือไหว้ศพอีกครั้ง พร้อมกับนึกอธิฐานในใจว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"
ธรรมเนียมปฎิบัติที่นิยมกันในปัจจุบันสำหรับการฌาปนกิจศพ จะมีพิธีการ "เผาหลอก" ก่อน แล้วจึง "เผาจริง" คือจะให้แขกที่มาร่วมงานทั้งหลาย ไปวางธูปเทียน ดอกไม้จันทน์ที่หน้าหรือใต้หีบศพ เพื่อแสดงความเคารพศพ ซึ่งเสมือนเป็นการทำพิธีเผาศพโดยสมมติ ยังไม่ใช่พิธีการเผาศพจริง ครั้นเมื่อแขกผู้ร่วมพิธีได้ทำความเคารพศพโดยสมมติหมดแล้ว จึงนิยมให้วงศาคณาญาติมิตรสหายสนิทผู้ใกล้ชิดกับผู้ตายขึ้นไปทำการเผาศพจริง อีกครั้งหนึ่ง จึงเสร็จพิธีเผาศพบริบูรณ์
การเผาจริง-เผาหลอกนี้เป็นธรรมเนียม เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา โดยแต่เดิมนั้น การฌาปนกิจศพจะมีแต่การ "เผาจริง" เพียงอย่างเดียวและจะทำกันในเวลาช่วงบ่ายถึงเย็น แต่เนื่องจากเกรงว่า การเผาศพจะก่อให้เกิดกลิ่น ซึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้มาร่วมงาน จึงเกิดธรรมเนียมใหม่คือ ให้มีการปิดหีบไว้ก่อนกันไม่ให้ไฟลามได้ ต่อเมื่อผู้คนที่มาร่วมงานได้กลับไปหมดแล้ว จึงจะทำการ "เผาจริง" โดยจะเหลือแต่เพียงเจ้าภาพ ญาติมิตรสหายสนิทเท่านั้น ที่อยู่ร่วมพิธี
ดังความตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบันทึกไว้ เกี่ยวกับที่มาของพิธีเผาจริงและเผาหลอก ว่า "…แท้ จริงเปนความคิดของพวกเจ้าพนักงานเผาศพหลวงในตอนปลาย ๆ รัชกาลที่ 5 เพื่อมิให้ผู้ที่ไปช่วยงานเผาศพเดือดร้อนรำคาญเพราะกลิ่นแห่งการเผาศพ ในเวลาที่ทำพิธีพระราชทานเพลิง จึงปิดก้นโกษฐ์หรือหีบไว้เสียและคอยระวังถอนธุปเทียนออกเสียจากภายใต้ เพื่อมิให้ไฟไหม้ขึ้นไปถึง ตอนดึกเมื่อผู้คนคนไปช่วยงานกลับกันหมดแล้ว จึงเปิดไฟและทำการเผาศพจริง ๆ …ดังนั้นจึงเกิดเปนธรรมเนียมขึ้นว่า ผู้ที่มิใช่ญาติสนิทให้เผาในเวลาพระราชทานเพลิง ญาติสนิทเผาอีกครั้ง 1 เมื่อเปิดเพลิงกรมนเรศร์ เป็นผู้ที่ทำให้ธรรมเนียมนี้เฟื่องฟูขึ้น และเป็นผู้ตั้งศัพท์ เผาพิธี และ เผาจริง ขึ้น…"
09.00 น. - เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล
10.15 น. - นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
10.20 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
10.25 น. - อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
10.30 น. - พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
11.00 น. - ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม
12.00 น. - เลี้ยงอาหารกลางวันแก่ญาติมิตรและแขกที่มาในงาน
14.00 น. - นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
14.05 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
14.10 น. - อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวายกัณฑ์เทศน์
15.00 น. - นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
15.30 น. - เคลื่อนศพเวียนเมรู 3 รอบ (พระสงฆ์นำศพ 1 รูป)
15.45 น. - เชิญศพขึ้นสู่เมรุ
16.00 น. - อ่านคำและยืนไว้อาลัย (ถ้ามี)
- เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล (ลำดับจากผู้อาวุโสน้อยไปมาก)
- ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ
- เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง
ในการกำหนดเวลาเก็บอัฐินั้นสุดแล้วแต่เจ้าภาพจะต้องการ โดยนิยมปฎิบัติกัน 2 แบบคือ
1) ทำพิธีเก็บอัฐิในวันเผา : ใช้ปฎิบัติในงานพระราชทานเพลิงศพ หรืองานฌาปนกิจศพที่จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลอัฐิติดต่อกัน เพื่อรวบรัดงานให้เสร็จภายในวันนั้น
2) ทำพิธีเก็บอัฐิในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น : ใช้ปฎิบัติในงานเผาศพที่เจ้าภาพ ประสงค์จะทำบุญอัฐิในวันรุ่งขึ้น (ทำบุญสามหาบ) หรือยังไม่จัดทำบุญอัฐิเพราะยังไม่พร้อม
- เจ้าภาพต้องแจ้งความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ของวัดทราบ และจัดเตรียมโกศสำหรับบรรจุอัฐิ น้ำอบหรือน้ำหอม ดอกไม้ และอาหารคาวหวานสำหรับถวายพระสงฆ์
- โดยนิมนต์พระสงฆ์มาพิจารณา "บังสุกุลอัฐิ" หรือที่เรียกว่า "แปรรูป" หรือ "แปรธาตุ"
- ในการเก็บอัฐินั้น เจ้าหน้าที่สัปเหร่อ นิยมทำพิธีแปรธาตุ คือ นำเอาอัฐิของผู้ตายที่เผาแล้ว มาวางเป็นรูปร่างคน โดยวางโครงร่างให้หันห้วไปทางทิศตะวันตกแล้วนิมนต์พระสงฆ์ ให้พิจารณา "บังสุกุล ตาย" ก่อน แล้วแปรธาตุโครงร่างกระดูกให้หันหัวไปทางทิศตะวันออก แล้วนิมนต์พระสงฆ์ให้พิจารณา "บังสุกุลเป็น" อีกครั้งหนึ่ง
- ต่อจากนั้นจึงให้เจ้าภาพเก็บอัฐิใส่โกศ โดยเลือกเก็บอัฐิจากร่างกาย รวม 6 แห่ง คือ กระโหลกศีรษะ 1 ชิ้น แขนทั้ง 2 ขาทั้ง 2 และ ซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น
- ส่วนอัฐิที่เหลือ รวมทั้ง "อังคาร" (ขี้เถ้า) ทั้งหมดนิยมกวาดรวมเก็บใส่ลุ้งหรือหีบไม้ แล้วเอาผ้าขาวห่อเก็บไว้ เพื่อนำไปบรรจุในที่อันเหมาะสมหรือนิยมนำไปลอยในทะเล
- เมื่อเก็บอัฐิเสร็จแล้ว นำอาหารคาวหวานไปถวายพระสงฆ์ที่นิมนต์มาพิจารณาบังสุกุล (หรือปัจจุบันจะนิยมทำแบบย่อ คือ หลังจากพระสงห์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ประเคนไทยธรรมบนเมรุเลย)
1) โกศ สำหรับใส่อัฐิ
2) ลุ้งหรือหีบไม้ สำหรับใส่อัฐิและอังคารที่เหลือ (หรือใช้ผ้าขาว)
3) ผ้าขาว สำหรับห่อลุ้งหรือหีบไม้ (ประมาณ 2 เมตร)
4) ผ้าบังสุกุล สำหรับทอดบังสุกุล ก่อนเก็บอัฐิ (นิยมใช้ผ้าสบง)
5) น้ำอบไทย 1 ขวด
6) ดอกมะลิ ดอกไม้ เหรียญเงิน (สำหรับโรยบนอัฐิ)
7) อาหารคาวหวาน จัดใส่ปิ่นโต (สำหรับถวายพระสงฆ์)
8) ดอกไม้ธูปเทียน ไทยธรรม (ตามจำนวนพระสงฆ์)
พิธีเก็บอัฐินี้ โบราณเรียกว่า "พิธี 3 หาบ" คือ
1. หาบของนุ่ง (สบงจีวร)
2. หาบของกิน (อาหารคาว-หวานถวายพระ)
3. หาบของใช้ (เตา หม้อ ถ้วยชาม เป็นต้น)
ญาติพี่น้องช่วยกันหาบเดินเวียนเมรุ 3 รอบ ก่อนเก็บอัฐิ เรียกกันว่า "พิธีเดินสามหาบ" แล้วนำหาบสิ่งของไปตั้งเรียงไว้ที่อาสน์สงฆ์ เจ้าภาพนำเอาผ้าไตรจีวรไปทอดที่กองอัฐิ นิมนต์พระสงห์ 3 รูป พิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จแล้วถวายสิ่งของสามหาบ พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศกุศลให้ผู้ตาย เรียกว่า "พิธีสามหาบ" ... ในปัจจุบันพิธีสามหาบ มีจัดกันน้อยลง โดยนิยมจัดอาหารใส่ปิ่นโตถวายพระแทน เพราะไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อการปฎิบัติ
- อัฐิที่เหลือจากการเก็บใส่โกศ ซึ่งได้รวบรวมใส่ห่อผ้าไว้นั้น บางรายก็จะซื้อเจดีย์มาบรรจุไว้ที่วัด บางรายก็บรรจุไว้ในเจดีย์หรือพระปรางค์ ซึ่งภายในได้ทำไว้เป็นช่องๆ บางวัดก็ทำที่สำหรับบรรจุอัฐิไว้ตามผนัง กำแพง ระเบียง ของวิหารหรือโบสถ์
- เมื่อญาติได้ตกลงแล้วว่าจะทำการบรรจุอัฐิไว้ที่ใด ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่จัดการ ณ ที่นั้น
- เมื่อเวลาบรรจุ จุดธูปเทียนเคารพอัฐิและบอกผู้ตายว่าจะบรรจุอัฐิไว้ในที่นั้น มีโอกาสเมื่อใดก็จะมาบำเพ็ญกุศลให้
- พร้อมกันนั้น นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป มาบังสุกุลให้แก่อัฐิ โดยมีของถวายพระ พร้อมด้วยใบปวารณาตามสมควร
- เมื่อได้บังสุกุลเสร็จแล้ว ก็ใช้น้ำอบหรือน้ำหอมประพรมที่ห่ออัฐินั้น แล้วจึงนำเข้าในที่บรรจุ
คำว่า "ลอย" คือการปล่อยให้ลอยตามน้ำ (หรืออากาศ)
คำว่า "อังคาร" คือ เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว
คำว่า "ลอยอังคาร" จึงหมายถึง การนำอัฐิไปลอยในน้ำ โดยนิยมไปลอยกันในแม่น้ำหรือทะเล
เหตุผลที่คนนิยมลอยอังคารและอัฐิหลังจากฌาปนกิจศพแล้วนั้น เพราะมีความเชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นจากธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมรวมกัน ครั้นเมื่อร่างกายแตกดับแล้วก็ควรให้มันกลับไปอยู่ในสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดย "น้ำ" เป็นหนึ่งในธาตุหลักที่มีลักษณะเย็น สงบ ชุ่มชื่น อีกทั้ง "น้ำ" ยังเป็นสิ่งที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ทำให้เกิดความเชื่อถือตามคตินิยมที่ว่า การนำอัฐิและอังคารไปลอยที่ในแม่น้ำหรือทะเล จะทำให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมีความสุข มีความสงบ ร่มเย็น ชุ่มชื่น เหมือนดัง "น้ำ"
เอกสารอ้างอิง :
1) พิธีการ-พิธีกรรม (ของกองทัพเรือ)
2) คู่มือการประกอบพิธีศพ (ของกรมตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
รวบรวมและเรียบเรียงโดย - JoJho
>>> บริการเรือลอยอังคาร สัตหีบ <<<
งานวัด /งานหลวง /งานบวช /งานบุญ
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
งานประเพณี 12 เดือนไทย
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน เน้น CSR
งานวัด /งานหลวง /งานบวช /งานบุญ
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
งานประเพณี 12 เดือนไทย
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท [1] หรือ ซีเอสอาร์ (อังกฤษ: corporate social responsibility: CSR) เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุด จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ
หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม จึงอยู่บนฐานความเชื่อว่า ธุรกิจ กับสังคม จะต้องอยู่ร่วมกัน อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน
ความรับผิดชอบทางสังคมหลากหลายมิติ[แก้]
ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัทมีหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้
- ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม
- ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ
- ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization
- ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
- ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง
- สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย
ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคมในมิติของความเป็นมนุษย์[แก้]
มิติของความเป็นมนุษย์ คือความเคารพ เห็นคุณค่า ซึ่งกันและกัน สร้างความสัมพันธ์ในลักษณะมนุษย์สัมผัสมนุษย์ อย่างคนที่เท่าเทียมกัน เห็นอกเห็นใจกัน นี่คือสัมผัสที่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีภาพของความยิ่งใหญ่และทันสมัย ควรได้สร้างขึ้น ผ่านกิจกรรม ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม (CSR)
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น↑ คำแปลอิงจากศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน อาจเรียกได้หลายชื่อเช่น ความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม, ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท, ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ, ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเพียงแค่ ความรับผิดชอบต่อ/ทางสังคม
- ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม และบทบาทของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
บทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้านี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล
หลักสูตร การขายเชิงรุก
กิจกรรม วอล์ค
แรลลี่ Walk Rally คือ กิจกรรมกลุ่มที่กระทำควบคู่ไปกับการประชุมเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคลากรและองค์กร ให้เหมาะสมกับบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ในภาวะการแข่งขันอย่างสูงในเชิงธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาศัย ทักษะ และ ศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน หรือการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งๆขึ้น ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลักษณะของกิจกรรม วอล์คแรลี่ Walk Rally แบ่งกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ แบบกึ่งวิชาการ และ แบบสันทนาการ ทั้งสองแบบ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการสื่อสารสองทาง มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และ ผสมผสานความ สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ความสามัคคี และ มนุษยสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมทดสอบทักษะ ไหวพริบ และสมรรถภาพทางร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน
ในการกำหนดหลักสูตรหรือหัวข้อการจัดกิจกรรม นั้น โดยทั่วไป ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะทราบถึงปัญหาในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรดีอยู่แล้ว โดยมักจะกำหนดหัวข้อหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยจะขอยกตัวอย่างหลักสูตรหรือหัวข้อยอดนิยมในการจัดประชุมสัมมนา หรือ จัดกิจกรรมวอล์คแรลลี่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการจัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังต่อไปนี้
www.วอล์คแรลลี่.com
|
งานวัด /งานหลวง /งานบวช /งานบุญ
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
งานประเพณี 12 เดือนไทย
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน เน้น CSR
งานวัด /งานหลวง /งานบวช /งานบุญ
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
งานประเพณี 12 เดือนไทย
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
งานวัด /งานหลวง /งานบวช /งานบุญ
งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ /
งานประเพณี 12 เดือนไทย
ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
...........................................ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
.....................................................................................
ทำอย่างไรเมื่อมีคนตาย ?
พิธีงานศพ - ลำดับขั้นตอนการปฎิบัิติ
หลังจากมีผู้เสียชีวิต รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการปฎิบัติที่ญาติควรทราบเกี่ยวกับพิธีงานศพมีดังต่อไปนี้
1. การแจ้งตาย
2. การนำศพไปวัด
3. การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ
4. การจัดงานบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม
5. การบรรจุเก็บศพ
6. การฌาปนกิจศพ
7. การเก็บอัฐิ
8. การลอยอังคาร
1. การแจ้งตาย
- ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย แล้วนำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนัก ทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต(อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่โรงพยาบาลบางแห่งจะออกใบมรณบัตรให้เอง หรือช่วยดำเนินการให้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยญาติของผู้เสียชีวิต จะต้องนำทะเบียนบ้านไปให้โรงพยาบาลด้วย
- ถึงแก่กรรมที่บ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตที่บ้านเรือนนั้นตั้งอยู่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือ
พบศพ เพื่อขอใบมรณบัตร
- ถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือ ถูกฆาตกรรม เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ เพื่อทำหลักฐานการเสียชีวิต ภายในเวลา 24 ชั่งโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ โดยในระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือแพทย์ยังไม่ได้ตรวจศพ ห้ามเคลื่อนย้ายศพ หรือทำให้ศพเปลี่ยนสภาพ หรือนำยามาฉีดศพ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแพทย์ได้ตรวจชันสูตรศพแล้ว ญาติผู้เสียชีวิตจะต้องไปขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งขอใบชันสูตรศพจากแพทย์ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบีบนท้องถิ่น ในการขอใบบรณบัตร โดยแจ้งด้วยว่า จะนำศพไปบำเพ็ญกุศล ณ วัดใด โดยระบุในช่องที่ว่า เผา ฝัง เก็บ หรืออุทิศ
*** เมื่อได้ใบมรณบัตรมาแล้ว ควรถ่ายสำเนาเอกสารที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ออกใบมรณบัตรให้ แล้วให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาเอกสารด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนในมรณบัตรตัวจริงต้องนำไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้เสียชีวิตมี ภูมิลำเนาอยู่ พร้อมนำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้จำหน่ายได้ว่า เสียชีวิตเมื่อใด ทั้งนี้จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ ภายในเวลา 15 วัน ***
2. การนำศพไปวัด
เมื่อติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพ หรือแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้ และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล
** ก่อนที่จะนำศพไปวัดควรจัดเตรียมเสื้อผ้าจากทางบ้านหรือโรงพยาบาลให้เรียบ ร้อยก่อน พร้อมจัดเตรียมผ้าแพรสำหรับคลุมศพและรูปภาพที่จะตั้งหน้าศพ **
*** ถ้าผู้ถึงแก่กรรมเป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พึงแจ้งไปยังต้นสังกัดของผู้นั้น แล้วเดินเรื่องไปยังกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ ต่อไป ***
หมายเหตุ : การขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ
ติดต่อ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง โทร. 0-2221-0873 , 0-2221-7182 และ 0-2222-2735
3. การอาบน้ำศพและการรดน้ำศพ
การอาบน้ำศพ
- เป็นการชำระร่างกายศพให้สะอาด และแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต ถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว เป็นหน้าที่ของบุตรธิดาโดยเฉพาะ ไม่นิยมเชิญคนภายนอก
- การอาบน้ำให้ศพกระทำด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วล้างด้วยน้ำเย็น ฟอกสบู่ ขัดถูร่างกายศพให้สะอาด
- เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้ว ก็เอาน้ำขมิ้นทาตามร่างกาย ตลอดถึงฝ่ามือฝ่าเท้าแล้วประพรมด้วยน้ำหอม
- ถ้าเป็นศพที่ตนเคารพนับถืออย่างยิ่ง เช่น บิดา มารดา ฯลฯ ก็นิยมเอาผ้าขาว หรือผ้าเช็ดหน้า ซับใบหน้า ฝ่ามือทั้งสองและฝ่าเท้าทั้งสอง เพื่อถอดเอารอยหน้ารอยฝ่ามือและฝ่าเท้า ไว้กราบไหว้บูชา หรือใช้เป็นผ้าประเจียด
- ต่อจากนั้นก็แต่งตัวศพ ตามฐานะของผู้ตาย เช่น เป็นข้าราชการก็แต่งเครื่องแบบเป็นต้น
- เมื่อแต่งตัวศพเสร็จเรียบร้อย จึงนำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอการรดน้ำต่อไป
การตั้งเตียงรดน้ำศพ
นิยมตั้งเตียงไว้ด้ายซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านบนศรีษะของศพ นิยมให้ศพนอนหงายหันด้านขวามือของศพ หรือด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางผู้ที่มาแสดงความเคารพ และใช้ผ้าใหม่ๆหรือผ้าแพรคลุมตลอดร่างศพนั้นโดยเปิดหน้าและมือขวาไว้เท่า นั้น
การรดน้ำศพ
- เจ้าภาพควรเตรียมน้ำอบ น้ำหอม พร้อมขันใส่น้ำผสมน้ำอบน้ำหอม และขันเล็กสำหรับตักน้ำยื่นให้แขก และขันขนาดใหญ่มีพานรองรับน้ำที่รดมือศพด้วย หรือจะขอร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานจัดเตรียมให้ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
- ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น นิยมให้เจ้าภาพ หรือเชิญผู้มีอาวุโสเป็นประธานในพิธีจุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจุดเครื่องทองน้อย (หรือธูปเทียน) ทางด้านศรีษะศพ แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป โดยเวลาที่นิยมในการรดน้ำศพโดยทั่วไปคือเวลา 16.00-17.00 น.
- นิยมให้ลูกหลาน ผู้ใกล้ชิด ทำการรดน้ำศพเสียก่อน ถึงเวลาเชิญแขกเพื่อมิให้คับคั่งเสียเวลารอคอยของแขกผู้มาแสดงความเคารพ
- เจ้าภาพควรจัดคนให้ทำหน้าหน้าที่คอยรับรองและเรียนเชิญแขกเข้ารดน้ำศพโดยนิยมให้ลูกหลาน หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพทำหน้าที่
- เมื่อแขกรดน้ำศพหมดแล้ว จึงเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ในที่นั้น เป็นผู้แทนรดน้ำศพ ด้วยน้ำหลวงอาบน้ำศพ หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นคนสุดท้าย
- เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั้น ได้รดน้ำหลวงอาบศพหรือได้รดน้ำศพแล้วถือกันว่าเป็นอันเสร็จพิธีรดน้ำศพ ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป
หน้าที่ประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพ
ประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพ ก่อนจะรับน้ำหลวงจากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ต้องถวายคำนับไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ 1 ครั้ง ก่อนรับน้ำหลวงอาบศพจากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เมื่อรับแล้ว ให้รดน้ำหลวงอาบศพ โดยเทตรงบริเวณทรวงอกศพ แล้วจึงรดน้ำขมิ้นกับน้ำอบไทย จากนั้นถวายความเคารพในทิศทางเดิม เป็นอันเสร็จพิธี
วิธีปฎิบัติในการรดน้ำศพ
- ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าตน ก่อนจะทำพิธีรดน้ำศพ นิยมนั่งคุกเข่า น้อมตัวยกมือไหว้พร้อมกับนึกขอขมาโทษต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
- เมื่อยกมือไหว้ขอขมาโทษต่อศพจบแล้ว ก็ถือภาชนะสำหรับรดน้ำด้วยมือทั้งสอง เทน้ำลงที่ฝ่ามือขวาของศพพร้อมกับนึกในใจว่า "อิทัง มะตะกะสะรีรัง อิสิญจิโตทะกัง วิยะ อโหสิกัมมัง" (ร่างกายที่ตายไปแล้วนี่ ย่อมเป็นอโหสิกรรม ไม่มีโทษ เหมือนน้ำที่รดแล้วฉะนั้น)
- เมื่อรดน้ำศพเสร็จแล้ว นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับอธิฐานว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"
การจัดศพลงหีบ
เมื่อเสร็จพิธีรดน้ำศพแล้ว สำหรับการจัดศพลงหีบนั้น นิยมมอบให้เจ้าหน้าที่ของวัด เป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย แล้วจะได้ตั้งบำเพ็ญกุศพต่อไป สำหรับศพที่ได้รับพระราชทานโกศหรือหีบหลวง ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ
การตั้งศพ
- เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ตามไฟ (คือให้ตั้งตะเกียงมีโคมและหรี่ไฟไว้ที่ปลายเท้าศพ 1 ที่)
- ในพิธีทางราชการ เมื่ออาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบ นำขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว จะนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป (หรือ 20 รูป) สดับปรกรณ์ (บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพและญาติๆกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี
- สำหรับศพชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันนิยม นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป (หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ) เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพหรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (จะเป็นผ้าไตร จีวร สบง ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดหน้าก็ได้) เมื่อพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จพิธีการตั้งศพ
การจัดสถานที่ตั้งศพ
- กรณีหากผู้ตายเป็นผู้ใหญ่แห่งตระกูล และบริเวณบ้านเรือนกว้างขวางเหมาะสมแก่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้ ก็นิยมจัดตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน เพราะโดยมากก็นิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้เป็นเวลานานอย่างน้อยก็ครบ 100 วัน จึงจะทำพิธีพระราชทานเพลิงศพหรือทำการฌาปนกิจศพ
- กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่บ้านแต่สถานที่ที่บ้านไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ตั้ง ศพ มักนิยมนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดใดวันหนึ่งใกล้บ้าน หรือวัดที่เหมาะสมแก่ฐานะของผู้ตาย
- กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล นิยมนำศพไปจัดตั้งที่วัด เพราะถือกันว่าไม่ควรนำศพเข้าบ้านและถือปฎิบัติเช่นนั้นโดยทั่วไป
4. การจัดงานบำเพ็ญกุศล
การสวดพระอภิธรรม
- การสวดพระอภิธรรม ประจำคืน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สวดหน้าศพ" นิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน
- โดยนิยมสวด 1 คืน , 3 คืน , 5 คืน , 7 คืน (ในบางรายหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จนครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจศพ)
- ตามประเพณีนิยมแต่โบราณ จะนิมนต์พระสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ พระสงฆ์ จะลงสวดเวลาตามแต่ละท้องถิ่น (ปกติจะนิยมเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.)
- ต้องจัดให้มีเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าสบงเพื่อถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุลให้ผู้เสียชีวิต (ปัจจุบัน ทางฌาปนสถานหรือทางวัด จะมีบริการจัดหาให้)
- ปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา
- ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขกที่มาฟังสวดทุกคืน
- ถ้าผู้ตายเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย นิยมเปิดโอกาสให้มีการจองเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป แล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีพระคุณ หรือ มีอุปการคุณแก่ตน ตามประเพณีนิยมของสังคม
การจัดงานทำบุญ
- ตามประเพณีไทย ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพ จะมีการบำเพ็ญกุศลทำบุญครบรอบวันตาย (ครบ 7 วัน , 50 วัน , 100 วัน) แต่ปัจจุบันจะนิยมจัดงานบำเพ็ญกุศล 7 วัน
- ส่วนมากจะนิมนต์พระสงฆ์ โดยสวดพระพุทธมนต์และฉันเพล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย (โดยญาติ จะจัดอาหารจัด , เครื่องสังฆทานไทยธรรม มาเอง หรือให้ฌาปนสถานหรือทางวัดดำเนินการก็ได้)
5. การบรรจุเก็บศพ
- การบรรจุเก็บศพ จะกระทำในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรม โดยสวดศพจบสุดท้ายเสร็จแล้วจะนำศพไปเก็บที่สุสาน หรือ ที่ศาลา ... หลังจากสวดพระอภิธรรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอญาติหรือรอโอกาสอันเหมาะสม ที่จะทำการฌาปนกิจหรือบรรจุศพฝังไว้ในสุสานต่อไป
- ญาติจะกำหนดเองว่าจะเก็บศพวันใด กี่วัน โดยทำการตกลงกับทางวัดหรือฌาปนสถาน
- ญาติจะต้องเตรียมผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ใส่ถาดไว้เพื่อแจกแขกผู้มาร่วมงานคนละก้อน จะมีดอกไม้ด้วยก็ได้ (ปัจจุบัน ส่วนมากทางวัดหรือทางฌาปนสถาน จะมีบริการจัดหาให้)
- นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล 1 รูป ไว้ในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรมเพื่อดำเนินการบรรจุศพไว้ โดยประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถาน
ขั้นตอนการปฎิบัติในพิธีบรรจุศพ
- เจ้าหน้าที่จัดสถานที่ประกอบพิธีบรรจุศพ ณ บริเวณหน้าที่ตั้งศพ
- เชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล 1 ไตร (บางงานจะไปทอดผ้าบังสุกล ณ สถานที่เก็บศพ) แล้วนิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
- เชิญประธานในพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำและช่อดอกไม้บนพานหน้าศพเป็นอันดับแรก
- เชิญผู้ร่วมพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำและช่อดอกไม้บนพานหน้าศพ ตามลำดับ
- เมื่อทุกคนวางห่อดินและช่อดอกไม้เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเคลื่อนศพไปยังสถานที่เก็บศพ
- บรรดาญาติและผู้ที่เคารพนับถือ จะจุดธูปเทียนวางพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้เป็นอันดับสุดท้าย
6. การฌาปนกิจศพ
- การฌาปนกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการฌาปนกิจศพที่แน่นอน แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถานก่อนทั้งนี้เพื่อเป็นการ เลือกจองวันและเวลาที่ต้องการ
- กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกวาระหนึ่ง โดยสวดก่อน 1 คืนแล้ววันรุ่งขึ้นจะทำพิธีฌาปนกิจ
- หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก เพียงแต่ยกศพขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในบ่าย แล้วทำการฌาปนกิจศพในตอนเย็น การกระทำเช่นนี้มักเรียกกันว่า "ตั้งเช้า เผาเย็น"
- ถ้าหากศพนั้นเป็นบุพการี สามี ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายอีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมให้อีก
การบำเพ็ญกุศลหน้าศพ
ในวันที่จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ หรือฌาปนกิจศพ นั้น จะนิยมบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตายก่อน เช่น
- จัดพิธีบวชลูกหลานเป็นพระภิกษุหรือสามเณรที่เรียกว่า "บวชหน้าไฟ"
- นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูปสวดพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพล (อาจจะเลี้ยงพระเพิ่มจำนวนเท่าใดก็ได้)
- จัดให้มีพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
- นิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกา - บังสุกุล (จำนวนพระสงฆ์ 10 รูปหรือนิยมเท่าอายุผู้ตายหรือตามศรัทธา)
- ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เป็นเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลหน้าศพ
เจ้าภาพ จะต้องเตรียมอุปกรณ์หลักๆ ได้แก่
1. เครื่องไทยธรรม ผ้าสบงถวายพระสวดมนต์ฉันเพล
2. เครื่องไทยธรรมผ้าไตร และเครื่องติดกันเทศน์ถวายพระเทศน์
3. ผ้าไตรประธานเพื่อทอดบังสุกุล และมหาบังสุกุลก่อนทำการฌาปนกิจ
4. ผ้าสบงถวายพระสวดมาติกาบังสุกุลตามจำนวนพระสวด (ส่วนใหญ่มักจะนิมนต์ 10 รูป
แต่บางแห่งจะนิมนต์พระทั้งวัดหรือตามจำนวนอายุของผู้ตาย)
5. เตรียมดอกไม้จันทน์ให้กับแขกผู้มาร่วมงาน และดอกไม้จันทน์สำหรับประธานพิธี
(ปัจจุบันทางวัดหรือฌาปนสถาน จะมีบริการจัดเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้ทั้งหมด แต่
หากทางเจ้าภาพอยากจะจัดหามาเองก็ได้)
เคลื่อนศพไปสู่เมรุ
- หลังจากบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย ก่อนจะเคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุนั้น นิยมให้ลูกหลานคนใกล้ชิ้นผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ เพื่อเป็นการอภัยโทษที่เคยล่วงเกินต่อกัน โดยตั้งจิต หรือกล่าวคำขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน [อาจจะออกนามผู้ตามก็ได้] ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมด้วยเถิด)
พิธีแห่ศพเวียนเมรุ
- การเคลื่อนศพต้องนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เป็นผู้นำศพ เวียนรอบเมรุ 3 รอบ
- การเวียนต้องเวียนจากขวาไปซ้ายของเมรุ คือ เดินเวียนซ้ายเมรุ (เมรุอยู่ทางซ้ายมือของผู้เดิน) เริ่มจากบันไดหน้าเมรุ
- เจ้าภาพและญาติของผู้ตายต้องเดินเข้าขบวนตามศพเวียนรอบเมรุด้วย
- ถ้าศพนั้นมีรูปถ่ายของผู้ตาย ซึ่งนำไปตั้งไว้ในที่บำเพ็ญกุศล ก็ต้องมีผู้ถือรูปถ่ายนำหน้าศพไปในขบวน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ และมีคนถือเครื่องทองน้อยหรือกระถางธูปนำหน้าศพ
- ลำดับการแห่ศพ ถือหลัก "พระ-กระถางธูป-รูปภาพ-ศพ-ญาติมิตร"
- เมื่อได้นำศพเวียนรอบเมรุครบ 3 รอบแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพขึ้นตั้งบนเมรุ
การทอดผ้าบังสุกุล
- การทอดผ้าบังสุกุลนั้น เจ้าภาพจะต้องพิจารณาว่า แขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่เชิญไว้ มีจำนวนเท่าใดก็จัดผ้าไตรเท่ากับจำนวนแขกชั้นผู้ใหญ่ ส่วนจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นควรให้เป็นไปตามความเหมาะสม
- การเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุล เจ้าภาพจะต้องไปเชิญด้วยตนเอง โดยมีผู้ถือพานผ้าไตรตามเจ้าภาพไปด้วย
- แต่ถ้าแขกที่เป็นประธานเป็นผู้ใหญ่ชั้นสูง หรือเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของเจ้าภาพ ก็ควรถือพานผ้าไตรไปเชิญด้วยตนเอง
- เมื่อแขกผู้รับเชิญลุกจากที่นั่ง เจ้าภาพหรือผู้ถือพานผ้าไตรก็เดินตามแขกผู้นั้นไป
- เมื่อขึ้นบันไดเมรุแล้วก็ส่งมอบผ้าไตรให้ ผู้ทอดผ้าก็จะรับผ้าไตรนำไปวางลงตรงที่สำหรับทอดผ้า แต่ถ้าไม่มีการจัดที่สำหรับทอดผ้าไว้ ก็วางผ้าไตรนั้นลงบนหีบศพทางด้านหัวนอนศพ แล้วผู้ทอดผ้าก็คอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์จะมาชักผ้าบังสุกุล
- โดยลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุลนั้น จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานในพิธีขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นอันดับสุดท้าย
- เมื่อประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงต่อไป
วิธีปฎิบัติการเผาศพ
- นิยมยืนตรง ห่างจากศพ ประมาณ 1 ก้าว
- ถ้าแต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมยืนตรงโค้งคำนับ
- ถ้ามิได้แต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมน้อมไหว้ พร้อมทั้งธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ที่อยู่ในมือ
(เฉพาะศพนั้นมีอาวุโสสูงกว่าตน หรือ มีอาวุโสรุ่นราวคราวเดียวกัน)
- ขณะที่ยืนตรงโค้งคำนับ หรือ น้อมไหว้นั้น ควรตั้งจิตขอขมาต่อศพนั้นว่า
"กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรด อโหสิกรรมให้แก่ ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
- เมื่อขอขมาต่อศพเสร็จแล้ว น้อมตัวลงวางธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ ที่เชิงตะกอน ในขณะนั้นควรพิจารณาตัวเองถึงความตาย ว่า "ร่างกายของมนุษย์เรานี้ ย่อมมีความตาย เป็นธรรมดาอย่างนี้ เป็นปกติอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความตายอย่างนี้ไปได้เลย" ดังคำพระที่ว่า "อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโต"
- เมื่อพิจารณาตัวเองระลึกนึกถึงความตายจบแล้ว ยืนตรง โค้งคำนับ หรือ ยกมือไหว้ศพอีกครั้ง พร้อมกับนึกอธิฐานในใจว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"
เผาจริง-เผาหลอก
ธรรมเนียมปฎิบัติที่นิยมกันในปัจจุบันสำหรับการฌาปนกิจศพ จะมีพิธีการ "เผาหลอก" ก่อน แล้วจึง "เผาจริง" คือจะให้แขกที่มาร่วมงานทั้งหลาย ไปวางธูปเทียน ดอกไม้จันทน์ที่หน้าหรือใต้หีบศพ เพื่อแสดงความเคารพศพ ซึ่งเสมือนเป็นการทำพิธีเผาศพโดยสมมติ ยังไม่ใช่พิธีการเผาศพจริง ครั้นเมื่อแขกผู้ร่วมพิธีได้ทำความเคารพศพโดยสมมติหมดแล้ว จึงนิยมให้วงศาคณาญาติมิตรสหายสนิทผู้ใกล้ชิดกับผู้ตายขึ้นไปทำการเผาศพจริง อีกครั้งหนึ่ง จึงเสร็จพิธีเผาศพบริบูรณ์
การเผาจริง-เผาหลอกนี้เป็นธรรมเนียม เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา โดยแต่เดิมนั้น การฌาปนกิจศพจะมีแต่การ "เผาจริง" เพียงอย่างเดียวและจะทำกันในเวลาช่วงบ่ายถึงเย็น แต่เนื่องจากเกรงว่า การเผาศพจะก่อให้เกิดกลิ่น ซึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้มาร่วมงาน จึงเกิดธรรมเนียมใหม่คือ ให้มีการปิดหีบไว้ก่อนกันไม่ให้ไฟลามได้ ต่อเมื่อผู้คนที่มาร่วมงานได้กลับไปหมดแล้ว จึงจะทำการ "เผาจริง" โดยจะเหลือแต่เพียงเจ้าภาพ ญาติมิตรสหายสนิทเท่านั้น ที่อยู่ร่วมพิธี
ดังความตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบันทึกไว้ เกี่ยวกับที่มาของพิธีเผาจริงและเผาหลอก ว่า "…แท้ จริงเปนความคิดของพวกเจ้าพนักงานเผาศพหลวงในตอนปลาย ๆ รัชกาลที่ 5 เพื่อมิให้ผู้ที่ไปช่วยงานเผาศพเดือดร้อนรำคาญเพราะกลิ่นแห่งการเผาศพ ในเวลาที่ทำพิธีพระราชทานเพลิง จึงปิดก้นโกษฐ์หรือหีบไว้เสียและคอยระวังถอนธุปเทียนออกเสียจากภายใต้ เพื่อมิให้ไฟไหม้ขึ้นไปถึง ตอนดึกเมื่อผู้คนคนไปช่วยงานกลับกันหมดแล้ว จึงเปิดไฟและทำการเผาศพจริง ๆ …ดังนั้นจึงเกิดเปนธรรมเนียมขึ้นว่า ผู้ที่มิใช่ญาติสนิทให้เผาในเวลาพระราชทานเพลิง ญาติสนิทเผาอีกครั้ง 1 เมื่อเปิดเพลิงกรมนเรศร์ เป็นผู้ที่ทำให้ธรรมเนียมนี้เฟื่องฟูขึ้น และเป็นผู้ตั้งศัพท์ เผาพิธี และ เผาจริง ขึ้น…"
ตัวอย่างลำดับพิธีการฌาปนกิจศพ
09.00 น. - เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล
10.15 น. - นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
10.20 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
10.25 น. - อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
10.30 น. - พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
11.00 น. - ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม
12.00 น. - เลี้ยงอาหารกลางวันแก่ญาติมิตรและแขกที่มาในงาน
14.00 น. - นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
14.05 น. - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
14.10 น. - อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวายกัณฑ์เทศน์
15.00 น. - นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
15.30 น. - เคลื่อนศพเวียนเมรู 3 รอบ (พระสงฆ์นำศพ 1 รูป)
15.45 น. - เชิญศพขึ้นสู่เมรุ
16.00 น. - อ่านคำและยืนไว้อาลัย (ถ้ามี)
- เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล (ลำดับจากผู้อาวุโสน้อยไปมาก)
- ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ
- เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง
7. การเก็บอัฐิ
ในการกำหนดเวลาเก็บอัฐินั้นสุดแล้วแต่เจ้าภาพจะต้องการ โดยนิยมปฎิบัติกัน 2 แบบคือ
1) ทำพิธีเก็บอัฐิในวันเผา : ใช้ปฎิบัติในงานพระราชทานเพลิงศพ หรืองานฌาปนกิจศพที่จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลอัฐิติดต่อกัน เพื่อรวบรัดงานให้เสร็จภายในวันนั้น
2) ทำพิธีเก็บอัฐิในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น : ใช้ปฎิบัติในงานเผาศพที่เจ้าภาพ ประสงค์จะทำบุญอัฐิในวันรุ่งขึ้น (ทำบุญสามหาบ) หรือยังไม่จัดทำบุญอัฐิเพราะยังไม่พร้อม
- เจ้าภาพต้องแจ้งความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ของวัดทราบ และจัดเตรียมโกศสำหรับบรรจุอัฐิ น้ำอบหรือน้ำหอม ดอกไม้ และอาหารคาวหวานสำหรับถวายพระสงฆ์
- โดยนิมนต์พระสงฆ์มาพิจารณา "บังสุกุลอัฐิ" หรือที่เรียกว่า "แปรรูป" หรือ "แปรธาตุ"
- ในการเก็บอัฐินั้น เจ้าหน้าที่สัปเหร่อ นิยมทำพิธีแปรธาตุ คือ นำเอาอัฐิของผู้ตายที่เผาแล้ว มาวางเป็นรูปร่างคน โดยวางโครงร่างให้หันห้วไปทางทิศตะวันตกแล้วนิมนต์พระสงฆ์ ให้พิจารณา "บังสุกุล ตาย" ก่อน แล้วแปรธาตุโครงร่างกระดูกให้หันหัวไปทางทิศตะวันออก แล้วนิมนต์พระสงฆ์ให้พิจารณา "บังสุกุลเป็น" อีกครั้งหนึ่ง
- ต่อจากนั้นจึงให้เจ้าภาพเก็บอัฐิใส่โกศ โดยเลือกเก็บอัฐิจากร่างกาย รวม 6 แห่ง คือ กระโหลกศีรษะ 1 ชิ้น แขนทั้ง 2 ขาทั้ง 2 และ ซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น
- ส่วนอัฐิที่เหลือ รวมทั้ง "อังคาร" (ขี้เถ้า) ทั้งหมดนิยมกวาดรวมเก็บใส่ลุ้งหรือหีบไม้ แล้วเอาผ้าขาวห่อเก็บไว้ เพื่อนำไปบรรจุในที่อันเหมาะสมหรือนิยมนำไปลอยในทะเล
- เมื่อเก็บอัฐิเสร็จแล้ว นำอาหารคาวหวานไปถวายพระสงฆ์ที่นิมนต์มาพิจารณาบังสุกุล (หรือปัจจุบันจะนิยมทำแบบย่อ คือ หลังจากพระสงห์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ประเคนไทยธรรมบนเมรุเลย)
อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ควรเตรียมพร้อมก่อน
1) โกศ สำหรับใส่อัฐิ
2) ลุ้งหรือหีบไม้ สำหรับใส่อัฐิและอังคารที่เหลือ (หรือใช้ผ้าขาว)
3) ผ้าขาว สำหรับห่อลุ้งหรือหีบไม้ (ประมาณ 2 เมตร)
4) ผ้าบังสุกุล สำหรับทอดบังสุกุล ก่อนเก็บอัฐิ (นิยมใช้ผ้าสบง)
5) น้ำอบไทย 1 ขวด
6) ดอกมะลิ ดอกไม้ เหรียญเงิน (สำหรับโรยบนอัฐิ)
7) อาหารคาวหวาน จัดใส่ปิ่นโต (สำหรับถวายพระสงฆ์)
8) ดอกไม้ธูปเทียน ไทยธรรม (ตามจำนวนพระสงฆ์)
พิธีสามหาบ
พิธีเก็บอัฐินี้ โบราณเรียกว่า "พิธี 3 หาบ" คือ
1. หาบของนุ่ง (สบงจีวร)
2. หาบของกิน (อาหารคาว-หวานถวายพระ)
3. หาบของใช้ (เตา หม้อ ถ้วยชาม เป็นต้น)
ญาติพี่น้องช่วยกันหาบเดินเวียนเมรุ 3 รอบ ก่อนเก็บอัฐิ เรียกกันว่า "พิธีเดินสามหาบ" แล้วนำหาบสิ่งของไปตั้งเรียงไว้ที่อาสน์สงฆ์ เจ้าภาพนำเอาผ้าไตรจีวรไปทอดที่กองอัฐิ นิมนต์พระสงห์ 3 รูป พิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จแล้วถวายสิ่งของสามหาบ พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศกุศลให้ผู้ตาย เรียกว่า "พิธีสามหาบ" ... ในปัจจุบันพิธีสามหาบ มีจัดกันน้อยลง โดยนิยมจัดอาหารใส่ปิ่นโตถวายพระแทน เพราะไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อการปฎิบัติ
บรรจุอัฐิ
- อัฐิที่เหลือจากการเก็บใส่โกศ ซึ่งได้รวบรวมใส่ห่อผ้าไว้นั้น บางรายก็จะซื้อเจดีย์มาบรรจุไว้ที่วัด บางรายก็บรรจุไว้ในเจดีย์หรือพระปรางค์ ซึ่งภายในได้ทำไว้เป็นช่องๆ บางวัดก็ทำที่สำหรับบรรจุอัฐิไว้ตามผนัง กำแพง ระเบียง ของวิหารหรือโบสถ์
- เมื่อญาติได้ตกลงแล้วว่าจะทำการบรรจุอัฐิไว้ที่ใด ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่จัดการ ณ ที่นั้น
- เมื่อเวลาบรรจุ จุดธูปเทียนเคารพอัฐิและบอกผู้ตายว่าจะบรรจุอัฐิไว้ในที่นั้น มีโอกาสเมื่อใดก็จะมาบำเพ็ญกุศลให้
- พร้อมกันนั้น นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป มาบังสุกุลให้แก่อัฐิ โดยมีของถวายพระ พร้อมด้วยใบปวารณาตามสมควร
- เมื่อได้บังสุกุลเสร็จแล้ว ก็ใช้น้ำอบหรือน้ำหอมประพรมที่ห่ออัฐินั้น แล้วจึงนำเข้าในที่บรรจุ
8. ลอยอังคาร
คำว่า "ลอย" คือการปล่อยให้ลอยตามน้ำ (หรืออากาศ)
คำว่า "อังคาร" คือ เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว
คำว่า "ลอยอังคาร" จึงหมายถึง การนำอัฐิไปลอยในน้ำ โดยนิยมไปลอยกันในแม่น้ำหรือทะเล
เหตุผลที่คนนิยมลอยอังคารและอัฐิหลังจากฌาปนกิจศพแล้วนั้น เพราะมีความเชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นจากธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมรวมกัน ครั้นเมื่อร่างกายแตกดับแล้วก็ควรให้มันกลับไปอยู่ในสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดย "น้ำ" เป็นหนึ่งในธาตุหลักที่มีลักษณะเย็น สงบ ชุ่มชื่น อีกทั้ง "น้ำ" ยังเป็นสิ่งที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ทำให้เกิดความเชื่อถือตามคตินิยมที่ว่า การนำอัฐิและอังคารไปลอยที่ในแม่น้ำหรือทะเล จะทำให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมีความสุข มีความสงบ ร่มเย็น ชุ่มชื่น เหมือนดัง "น้ำ"
เอกสารอ้างอิง :
1) พิธีการ-พิธีกรรม (ของกองทัพเรือ)
2) คู่มือการประกอบพิธีศพ (ของกรมตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
รวบรวมและเรียบเรียงโดย - JoJho
>>> บริการเรือลอยอังคาร สัตหีบ <<<
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)