ตรุษจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตรุษจีน (จีนตัวย่อ: 春节; จีนตัวเต็ม: 春節; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงอินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม
ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ
แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี พ.ศ. 2555 เป็น "ปีจีน" 4710, 4709 หรือ 4649
วันที่[แก้]
ปี | วันที่ | วันที่ | วันที่ |
---|---|---|---|
ปีชวด | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 25 มกราคม พ.ศ. 2563 |
ปีฉลู | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 | 26 มกราคม พ.ศ. 2552 | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 |
ปีขาล | 28 มกราคม พ.ศ. 2541 | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
ปีเถาะ | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | 22 มกราคม พ.ศ. 2566 |
ปีมะโรง | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 | 23 มกราคม พ.ศ. 2555 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 |
ปีมะเส็ง | 24 มกราคม พ.ศ. 2544 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | 29 มกราคม พ.ศ. 2568 |
ปีมะเมีย | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 | 31 มกราคม พ.ศ. 2557 | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 |
ปีมะแม | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570 |
ปีวอก | 22 มกราคม พ.ศ. 2547 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 | 26 มกราคม พ.ศ. 2571 |
ปีระกา | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 | 28 มกราคม พ.ศ. 2560 | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572 |
ปีจอ | 29 มกราคม พ.ศ. 2549 | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573 |
ปีกุน | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | 23 มกราคม พ.ศ. 2574 |
ปฏิทินสุริยจันทรคติจีนเป็นตัวกำหนดวันที่ของตรุษจีน ปฏิทินดังกล่าวยังใช้ในประเทศซึ่งรับเอาหรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฮั่น ที่โดดเด่น คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม และอาจมีบรรพบุรุษร่วมกันที่มีเทศกาลตรุษคล้ายกันนอกเอเชียตะวันออก เช่น อิหร่าน และในประวัติศาสตร์ ดินแดนชนบัลการ์
ในปฏิทินเกรโกเรียน แต่ละปีตรุษจีนมิได้ตรงกัน คือ อยู่ระหว่างวันที่ 21 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์ ในปฏิทินจีน เหมายันต้องเกิดในเดือนที่ 11 จึงหมายความว่า ตรุษจีนมักตรงกับเดือนดับครั้งที่สองหลังเหมายัน (น้อยครั้งที่เป็นครั้งที่สามหากมีอธิกมาส) ในประเพณีจีนโบราณ ลีชุนเป็นวันแรกในทางสุริยคติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งตรงกับประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์
ตรุษจีนทั่วโลก[แก้]
ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่ |
ตรุษจีนในประเทศไทย[แก้]
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
- วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
- วันไหว้
- ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
- ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
- ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
- วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" (橘) ไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ 吉 แปลว่า โชคลาภ หรือภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษากวางตุ้ง ส้มเรียกว่า "ก้าม" (柑) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง (金) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น 𡅕) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
ประเพณีปฏิบัติ[แก้]
- สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
คำอวยพร[แก้]
ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่
- 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ ซิงนี้หวกไช้; จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดจ๋าย; จีนแคะ: ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย; กวางตุ้ง: ซันจิงจู๋จี่ ซันหนินฟัดฉ่อย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
- 新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ; กวางตุ้ง:ซันหนิ่นฟายหลอก;ฮกเกี้ยน: ซินนี้ก๊วยหลก) นิยมใช้ในประเทศจีน
- 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: หย่งฮี้ฮวดจ๋าย; กวางตุ้ง: กุงเฮยฟัดฉ่อย)
- 過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย
- 大吉大利 (ฮกเกี้ยน: ตั่วเก็ตตั่วลี่) แปลว่า ความมงคลอันยิ่งใหญ่ ค้าขายได้กำไร
- 金玉满堂 (ฮกเกี้ยน: กิ้มหยกมั่วต๋อง) แปลว่า ทองหยกเต็มบ้าน
- 萬事如意 / 万事如意 (ฮกเกี้ยน: บ่านสู่หยู่อี่) แปลว่า หมื่นเรื่องสมปรารถนา
- 福壽萬萬年/ 福寿万万年 (จีนกลาง: ฝูเชี่ยวหวันวันเลี่ยน; ฮกเกี้ยน: ฮกซิ่วบันบั่นนี่) แปลว่า อายุยืนหมื่นๆ ปี
- 大家好運氣 / 大家好运气(จีนกลาง: ต้าจาห่าวเยียนชี; ฮกเกี้ยน: ต้าเก่โฮ่อุ๊นคิ) แปลว่า โชคดีเข้าบ้าน
- 年年大賺錢 / 年年大赚钱 (ฮกเกี้ยน: หนีนี้ตั๊วถั่นจี๋) แปลว่า ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2541. หน้า 73, 272. ISBN 978-974-246-307-6
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ: Chinese New Year |
- Yaowarat Map info เยาวราช แผนที่ ตรุษจีน
- Thailand information weather important phone call calendar ข้อมูล ประเทศไทย อากาศ ปฏิทิน
- จัดเครื่องเซ่นไหว้บูชา หยกอ๋องซ่งเต้
|
หมวดหมู่:
ม.ค.57เงินสะพัด1.6แสนล. เลือกตั้งทรุดตรุษจีนไม่ฟู่ฟ่า | |||||||
ศูนย์พยายากรณ์เศรษฐกิจ ประเมินรายได้เทศกาลปีใหม่พุ่งสูงสุด ที่ระดับ 1.1 แสนล้าน รองลงมาคือตรุษจีน คาดไม่ต่ำกว่า 4.7 หมื่นล้าน ขณะที่ เลือกตั้ง คาดว่าจะได้เม็ดเงินไม่ถึง 1 หมื่นล. ต่ำกว่าที่คาด 3 - 4 หมื่นล. เหตุการเมืองยังไม่นิ่ง พรรคการเมืองไม่กล้าทุ่มงบโฆษณา นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้จะมีเงินจากการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 47, 744.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากตรุษจีนปีก่อนที่มีการใช้จ่าย 45,081.06 ล้านบาท เนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่ปริมาณการซื้อสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ขณะที่ความเสียหายจากการปิดกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ประมาณวันละ 700 -1, 000 ล้านบาท หรือส่วนความเสียหายจากการท่องเที่ยวจะอยู่ที่ประมาณสัปดาห์ละ 5,000 - 7,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่หากสถานการณ์การเมืองยังไม่รุนแรงกว่าที่เป็นอยู่จะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก ทั้งนี้ คาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ประมาณ 3 - 4% เช่นเดิม นายธนวรรธน์ กล่าวต่อถึงกรณีที่คณะกรรมการนโย บายการเงิน (กนง.) ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ว่า เศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จึงไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากค่าเงินบาทยังทรง ๆ อยู่ที่ไม่เกิน 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แสดงว่ายังไม่มีเงินไหลออกอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เชื่อว่าในระหว่างการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2 เดือนนี้จะไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยทรุดลง ยกเว้นหากเกิดผลทางจิตวิทยาในเชิงลบของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ เช่น สถานทูตหลายประเทศประกาศเตือนนักท่องเที่ยวมาไทยมากขึ้น หรือเพิ่มระดับความรุนแรงของการเดินทางมาไทย นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหา วิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 57 ว่า ในช่วงปีใหม่นี้จะมีเงินสะพัดรวม 111,757 ล้านบาทเพิ่มจากปีก่อน 5.6% แบ่งเป็นการเลี้ยงสังสรรค์ 8,222 ล้านบาท, ทำบุญ 8,957 ล้านบาท, ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 12,840 ล้านบาท, ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย 739 ล้านบาท , ซื้อสินค้าคงทน 1,536 ล้านบาท, เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ 50,617 ล้านบาท และ ท่องเที่ยวในต่างประเทศ 28,841 ล้านบาท “แม้เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในภาวะซบเซาและอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ก็ยังทำให้บรรยากาศการใช้จ่ายมากกว่าปีก่อน แต่หากสถานการณ์ความขัดแย้งสิ้นสุดลงเชื่อว่าบรรยากาศการใช้จ่ายในเทศกาลคงจะเพิ่มขึ้นกว่านี้” อย่างไรก็ตาม หากแบ่งตามพื้นที่การใช้จ่ายของประชาชน จะพบว่าคนกรุงเทพฯ มีแผนการใช้จ่ายรวม 53,985 ล้านบาท และคนต่างจังหวัดมีแผนการใช้จ่ายรวม 57,771 ล้านบาท ส่วนของขวัญยอดนิยมในช่วงปีใหม่ ได้แก่ กระเช้าผลไม้ มากสุดที่ 13.8% รองลงมาเป็น เงินสด/เช็คของขวัญ 12.3% , กระเช้าทั่วไป 11.4%, ของรับประทาน 8% และเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย 8% “เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ 57 เทียบกับปี’56 คนส่วนใหญ่ 48.6% บอกว่ามีแผนใช้จ่ายเท่าเดิม, ส่วน 34.3% มีแผนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น, และ อีก 17.1% วางแผนที่จะใช้จ่ายน้อยลง” นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้สะท้อนว่า มุมมองของประชาชนมองเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก จึงระมัดระวังการใช้จ่าย ไม่ซื้อสินค้าคงทน ซึ่งก็จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงต้นปีหน้าขยายตัวได้ต่ำ โดยเฉพาะหากไม่สามารถลดภาษีสรรพ สามิตน้ำมันดีเซล ที่จะสิ้นสุดเดือน ธ.ค. นี้ต่อไปอีก จะทำให้ราคาน้ำมันดีเซล ปรับขึ้นทันทีลิตรละ 5 บาทตั้งแต่เดือน ม.ค. 57 ก็จะยิ่งมีผลกระทบทันทีต่อกำลังซื้อ และต้นทุนการผลิต ขณะที่กระแสการเลือก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ลดลงกว่าที่คาดเอาไว้มาก ซึ่งเดิมคาดว่าจะมีเงินสะพัด 4-5 หมื่นล้านบาท ลดลงมาเหลือไม่เกิน 10,000 ล้านบาท เนื่องจากบรรยากาศในการหาเสียงของพรรคการเมืองซบเซามาก ส่งผลทำให้พรรคการเมืองมีการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยว ข้องในอัตราต่ำ เช่น การทำโปสเตอร์หาเสียง สิ่งพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ รวมไปถึงการจัดทำผ้าสำหรับทีมงานในการหาเสียง เครื่องดื่มการเช่ารถยนต์และจักรยานยนต์ในการหาเสียง เครื่องเสียง และการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาผู้สมัครส.ส. ส่วนใหญ่มีการใช้เงินทั้งบนดินและใต้ดินประมาณ 20-30 ล้านบาท แต่บรรยากาศทางการเมืองที่ซบเซา ทำให้ครั้งนี้คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยเพียง 1-2 ล้านบาท ยกเว้นพื้นที่การแข่งขันดุเดือด แต่คงมีไม่มาก ขณะที่บางรายอาจใช้เงินไม่ถึง 1 ล้านบาทด้วยซ้ำ เนื่องจากกังวลว่าจะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น “จะเห็นว่า ป้ายหาเสียงมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายเบอร์ 15 ของพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคอื่น อย่างภูมิใจไทย ชาติพัฒนา และชาติไทยพัฒนา มีบ้างแต่ก็ไม่เยอะ ส่วนต่างจังหวัดก็ไม่ค่อยมีการเปิดเวทีปราศรัย หรือไม่มีการแข่งขันกันรุนแรง ทำให้การใช้จ่ายของพรรคการเมือง ทั้งเรื่องบุคลากร การเช่ารถยนต์ การออกโฆษณาตามสื่อ หรือแม้แต่การซื้อเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ปริมาณน้อยลงมาก “ นายธนวรรธน์ กล่าว นอกจากนี้ตามปกติช่วงก่อนเลือกตั้ง 1 เดือน สื่อต่าง ๆ จะมีการประโคมข่าวของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการหาเสียงเลือกตั้งอย่างคึกคัก โดยเฉพาะในส่วนของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นคู่แข่งสำคัญ แต่มาครั้งนี้สื่อส่วนใหญ่ต่างให้ความสนใจในเรื่องการชุมนุมประท้วง เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศไทยก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เนื่องจากประชาชนทั่วโลกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น ๆ “ยอมรับว่า ภาคการบริโภคในช่วงต้นปีนี้ต้องหดตัวอย่างแน่นอน เพราะนอกจากประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพที่แพงแล้ว เศรษฐกิจในและต่างประเทศยังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองไม่มีความชัดเจน ก็กดดันการใช้จ่ายประชาชนให้น้อยลงไปอีก ขณะที่เม็ดเงินสะพัดจากการเลือกตั้ง เดิมคาดว่าน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.3-0.4% แต่ตอนนี้คงลำบาก เพราะพรรคการเมืองใช้จ่ายลดลง” นายธนวรรธน์ กล่าว |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น