วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...

บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD เขียนโดย

บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...

บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drin...: ประวัติ บริษัท มหาชัยเครื่องดื่ม ชัวร์ ชัวร์ (Drink Sure ) รุ่น SUREGOLD เขียนโดย

ตรุษจีน กับ การตลาดบ้านอสังหาฯไทย

ตรุษจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งานตรุษจีน พ.ศ. 2548 บริเวณวงเวียนโอเดียน กรุงเทพมหานคร
ตรุษจีน (จีนตัวย่อ: 春节; จีนตัวเต็ม: 春節; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงอินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม
ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ
แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี พ.ศ. 2555 เป็น "ปีจีน" 4710, 4709 หรือ 4649

วันที่[แก้]

ปีวันที่วันที่วันที่
ปีชวด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25397 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 255125 มกราคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254026 มกราคม พ.ศ. 255212 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปีขาล28 มกราคม พ.ศ. 254114 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25531 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ปีเถาะ16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25423 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 255422 มกราคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254323 มกราคม พ.ศ. 255510 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง24 มกราคม พ.ศ. 254410 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 255629 มกราคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254531 มกราคม พ.ศ. 255717 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569
ปีมะแม1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254619 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25586 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
ปีวอก22 มกราคม พ.ศ. 25478 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 255926 มกราคม พ.ศ. 2571
ปีระกา9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254828 มกราคม พ.ศ. 256013 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572
ปีจอ29 มกราคม พ.ศ. 254916 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25613 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573
ปีกุน18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25505 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256223 มกราคม พ.ศ. 2574
ปฏิทินสุริยจันทรคติจีนเป็นตัวกำหนดวันที่ของตรุษจีน ปฏิทินดังกล่าวยังใช้ในประเทศซึ่งรับเอาหรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฮั่น ที่โดดเด่น คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม และอาจมีบรรพบุรุษร่วมกันที่มีเทศกาลตรุษคล้ายกันนอกเอเชียตะวันออก เช่น อิหร่าน และในประวัติศาสตร์ ดินแดนชนบัลการ์
ในปฏิทินเกรโกเรียน แต่ละปีตรุษจีนมิได้ตรงกัน คือ อยู่ระหว่างวันที่ 21 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์ ในปฏิทินจีน เหมายันต้องเกิดในเดือนที่ 11 จึงหมายความว่า ตรุษจีนมักตรงกับเดือนดับครั้งที่สองหลังเหมายัน (น้อยครั้งที่เป็นครั้งที่สามหากมีอธิกมาส) ในประเพณีจีนโบราณ ลีชุนเป็นวันแรกในทางสุริยคติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งตรงกับประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์

ตรุษจีนทั่วโลก[แก้]

ตรุษจีนในประเทศไทย[แก้]

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
  • วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
  • วันไหว้
    • ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
    • ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
    • ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
  • วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" (橘) ไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ 吉 แปลว่า โชคลาภ หรือภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษากวางตุ้ง ส้มเรียกว่า "ก้าม" (柑) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง (金) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น 𡅕) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

ประเพณีปฏิบัติ[แก้]

  • สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

คำอวยพร[แก้]

ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่
  • 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ ซิงนี้หวกไช้; จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดจ๋าย; จีนแคะ: ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย; กวางตุ้ง: ซันจิงจู๋จี่ ซันหนินฟัดฉ่อย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
  • 新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ; กวางตุ้ง:ซันหนิ่นฟายหลอก;ฮกเกี้ยน: ซินนี้ก๊วยหลก) นิยมใช้ในประเทศจีน
  • 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: หย่งฮี้ฮวดจ๋าย; กวางตุ้ง: กุงเฮยฟัดฉ่อย)
  • 過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย
  • 大吉大利 (ฮกเกี้ยน: ตั่วเก็ตตั่วลี่) แปลว่า ความมงคลอันยิ่งใหญ่ ค้าขายได้กำไร
  • 金玉满堂 (ฮกเกี้ยน: กิ้มหยกมั่วต๋อง) แปลว่า ทองหยกเต็มบ้าน
  • 萬事如意 / 万事如意 (ฮกเกี้ยน: บ่านสู่หยู่อี่) แปลว่า หมื่นเรื่องสมปรารถนา
  • 福壽萬萬年/ 福寿万万年 (จีนกลาง: ฝูเชี่ยวหวันวันเลี่ยน; ฮกเกี้ยน: ฮกซิ่วบันบั่นนี่) แปลว่า อายุยืนหมื่นๆ ปี
  • 大家好運氣 / 大家好运气(จีนกลาง: ต้าจาห่าวเยียนชี; ฮกเกี้ยน: ต้าเก่โฮ่อุ๊นคิ) แปลว่า โชคดีเข้าบ้าน
  • 年年大賺錢 / 年年大赚钱 (ฮกเกี้ยน: หนีนี้ตั๊วถั่นจี๋) แปลว่า ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2541. หน้า 73, 272. ISBN 978-974-246-307-6

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

การตลาดอสังหาฯ เชิงรุก แบบนักการเมืองท้องถิ่น การตลาด CSR กิจกรรม ดร.สมัย เหมมั่น ตอบแทนสังคม เพื่อรับรู้ปัญหาและการแก้ไขปรับปรุง ธุรกิจ เชิงกลยุทธ์ หลัก CSR

เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน  เน้น CSR


งานวัด /งานหลวง  /งานบวช /งานบุญ

งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ / 

งานประเพณี 12 เดือนไทย

  ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา




เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน  เน้น CSR

งานวัด /งานหลวง  /งานบวช /งานบุญ

งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ / 

งานประเพณี 12 เดือนไทย

  ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท [1] หรือ ซีเอสอาร์ (อังกฤษ: corporate social responsibility: CSR) เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุด จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ
หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม จึงอยู่บนฐานความเชื่อว่า ธุรกิจ กับสังคม จะต้องอยู่ร่วมกัน อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน

ความรับผิดชอบทางสังคมหลากหลายมิติ[แก้]

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัทมีหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้
  1. ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม
  2. ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ
  3. ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization
  4. ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
  5. ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง
  6. สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย

ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคมในมิติของความเป็นมนุษย์[แก้]

มิติของความเป็นมนุษย์ คือความเคารพ เห็นคุณค่า ซึ่งกันและกัน สร้างความสัมพันธ์ในลักษณะมนุษย์สัมผัสมนุษย์ อย่างคนที่เท่าเทียมกัน เห็นอกเห็นใจกัน นี่คือสัมผัสที่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีภาพของความยิ่งใหญ่และทันสมัย ควรได้สร้างขึ้น ผ่านกิจกรรม ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม (CSR)

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น คำแปลอิงจากศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน อาจเรียกได้หลายชื่อเช่น ความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม, ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท, ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ, ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเพียงแค่ ความรับผิดชอบต่อ/ทางสังคม






หลักสูตร การขายเชิงรุก
กิจกรรม วอล์ค
กและเชิงรับ
แรลลี่ Walk Rally   คือ กิจกรรมกลุ่มที่กระทำควบคู่ไปกับการประชุมเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาบุคคลากรและองค์กร ให้เหมาะสมกับบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ในภาวะการแข่งขันอย่างสูงในเชิงธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาศัย ทักษะ และ ศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน  มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน หรือการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ดียิ่งๆขึ้น ซึ่งจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น   ลักษณะของกิจกรรม วอล์คแรลี่ Walk Rally  แบ่งกว้างๆได้ 2 ลักษณะ คือ แบบกึ่งวิชาการ และ แบบสันทนาการ ทั้งสองแบบ จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการสื่อสารสองทาง มีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไป และ ผสมผสานความ สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ความสามัคคี และ มนุษยสัมพันธ์ ด้วยกิจกรรมทดสอบทักษะ ไหวพริบ และสมรรถภาพทางร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน
      ในการกำหนดหลักสูตรหรือหัวข้อการจัดกิจกรรม นั้น โดยทั่วไป ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะทราบถึงปัญหาในการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรดีอยู่แล้ว โดยมักจะกำหนดหัวข้อหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหาหรือต้องการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิม โดยจะขอยกตัวอย่างหลักสูตรหรือหัวข้อยอดนิยมในการจัดประชุมสัมมนา หรือ จัดกิจกรรมวอล์คแรลลี่ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการจัดประชุมสัมมนาเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังต่อไปนี้

www.วอล์คแรลลี่.com

สุดยอดการขายเชิงรุกและเชิงรับ

     ในยุคข้าวยากหมากแพงอย่างปัจจุบันนี้ ทำให้การตัดสินใจจับจ่ายใช้สอยสินค้าแต่ละอย่างของผู้บริโภคนั้น อาจต้องใช้การพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบว่าสินค้าว่ามีความคุ้มค่า หรือ มีความจำเป็นที่จะซื้อไปใช้หรือไม่ ทำให้ การทำการตลาดและการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการยิ่งยากขึ้นไปอีก ทำให้มีการปรับตัว ปรับกลยุทธ์การขายกันฝุ่นตลบ ไหนจะต้องเจอกับการแข่งขันทางการตลาดของคู่แข่งทางธุรกิจ ไหนจะเจอปัญหากำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายที่เคยทำการขายแบบตั้งรับ หันมาเน้นการทำการขายแบบเชิงรุกกันมากขึ้น
     การขายแบบตั้งรับ คือการมีหน้าร้าน มีโชว์รูม มีสินค้าในโหน้าร้าน แล้วนั่งรอ รอร๊อรอให้ลูกค้าถือเงินเข้ามาจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่งหากมีกระบวนการทำการตลาดที่ดี ยกตัวอย่างการขายแบบตั้งรับ คือ โชว์รูมต่างๆ เช่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และ โทรศัพท์มือถือ  แต่ในยุคปัจจุบันการขายแบบเชิงรุกกำลังเติบโตอย่างมากใรธุรกิจที่เคยทำการตลาดแบบตั้งรับ โดยการออกไปเปิดบูธ ร่วมงานแสดงสินค้า จัดโปรโมชั่นต่างๆ
      ส่วนกลยุทธ์การขายเชิงรุก นั้น  คือการนำเสนอธุรกิจ เสนอสินค้า เสนอโครงการ ให้กับผู้บริโภคโดยตรงคล้ายๆกับการขายตรง
   

     
และยังมีเทคนิคการขายเชิงรุกอีกหลายๆแบบ ที่สินค้าอื่นๆสามารถทำการขายแบบเชิงรุกได้อีก เช่น การขายเฟอร์นิเจอร์เข้าไปในโครงการบ้านจัดสรร แล้ว เราต้องซื้อบ้านพร้อมเฟอร์นิเจอร์ นี่ก็เป็นเทคนิคอีกแบบหนึ่ง  จะเห็นได้ว่า การขายทั้งแบบตั้งรับ และ แบบเชิงรุก มีทั้งข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน สินค้าบางประเภท ไม่สามารถนำมาทำการขายแบบเชิงรุกได้ เนื่องจากภาพลักษณ์ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆเอง หรือ สินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์บางอย่างก็ไม่สามาถนั่งรอให้ลูกค้าเดินเข้ามาซื้อได้
     การขายแบบตั้งรับและแบบเชิงรุก จึงต้องอาศัยการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือ อาจารย์วิทยากรผู้ชำนาญการทางด้านการตลาดและการขายโดยเฉพาะเพื่อการนำกลยุทธ์ไปปรับปรุงเพิ่มความสามารถ เพิ่มยอดขาย ในการขายสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ขององค์กรให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันมากขึ้น
เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน  เน้น CSR
งานวัด /งานหลวง  /งานบวช /งานบุญ

งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ / 

งานประเพณี 12 เดือนไทย

  ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา






เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน  เน้น CSR

งานวัด /งานหลวง  /งานบวช /งานบุญ

งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ / 

งานประเพณี 12 เดือนไทย

  ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา






เปิดกิจกรรม ร่วมกิจกรรม ไปทุกงาน เปิดตัวทุกงาน  เน้น CSR
งานวัด /งานหลวง  /งานบวช /งานบุญ

งานมงคล /งานแต่งงาน /งานวันเกิด /งานศพ /งานปีใหม่ / 

งานประเพณี 12 เดือนไทย

  ทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้จัก ธุรกิจที่ดีของเรา
...........................................
.....................................................................................

ทำอย่างไรเมื่อมีคนตาย ?

พิธีงานศพ - ลำดับขั้นตอนการปฎิบัิติ 


หลังจากมีผู้เสียชีวิต รายละเอียดของลำดับขั้นตอนการปฎิบัติที่ญาติควรทราบเกี่ยวกับพิธีงานศพมีดังต่อไปนี้

1. การแจ้งตาย
2. การนำศพไปวัด
3. การอาบน้ำศพ การรดน้ำศพ
4. การจัดงานบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม
5. การบรรจุเก็บศพ
6. การฌาปนกิจศพ
7. การเก็บอัฐิ
8. การลอยอังคาร


1. การแจ้งตาย


- ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย แล้วนำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนัก ทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต(อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่โรงพยาบาลบางแห่งจะออกใบมรณบัตรให้เอง หรือช่วยดำเนินการให้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยญาติของผู้เสียชีวิต จะต้องนำทะเบียนบ้านไปให้โรงพยาบาลด้วย

- ถึงแก่กรรมที่บ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตที่บ้านเรือนนั้นตั้งอยู่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือ
พบศพ เพื่อขอใบมรณบัตร

- ถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือ ถูกฆาตกรรม เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ เพื่อทำหลักฐานการเสียชีวิต ภายในเวลา 24 ชั่งโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ โดยในระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือแพทย์ยังไม่ได้ตรวจศพ ห้ามเคลื่อนย้ายศพ หรือทำให้ศพเปลี่ยนสภาพ หรือนำยามาฉีดศพ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแพทย์ได้ตรวจชันสูตรศพแล้ว ญาติผู้เสียชีวิตจะต้องไปขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งขอใบชันสูตรศพจากแพทย์ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบีบนท้องถิ่น ในการขอใบบรณบัตร โดยแจ้งด้วยว่า จะนำศพไปบำเพ็ญกุศล ณ วัดใด โดยระบุในช่องที่ว่า เผา ฝัง เก็บ หรืออุทิศ

*** เมื่อได้ใบมรณบัตรมาแล้ว ควรถ่ายสำเนาเอกสารที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ออกใบมรณบัตรให้ แล้วให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาเอกสารด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนในมรณบัตรตัวจริงต้องนำไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้เสียชีวิตมี ภูมิลำเนาอยู่ พร้อมนำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้จำหน่ายได้ว่า เสียชีวิตเมื่อใด ทั้งนี้จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ ภายในเวลา 15 วัน ***


2. การนำศพไปวัด


เมื่อติดต่อวัดที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพ หรือแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้ และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล

** ก่อนที่จะนำศพไปวัดควรจัดเตรียมเสื้อผ้าจากทางบ้านหรือโรงพยาบาลให้เรียบ ร้อยก่อน พร้อมจัดเตรียมผ้าแพรสำหรับคลุมศพและรูปภาพที่จะตั้งหน้าศพ **

*** ถ้าผู้ถึงแก่กรรมเป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ที่สมควรได้รับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พึงแจ้งไปยังต้นสังกัดของผู้นั้น แล้วเดินเรื่องไปยังกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ ต่อไป ***

หมายเหตุ : การขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ
ติดต่อ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง โทร. 0-2221-0873 , 0-2221-7182 และ 0-2222-2735


3. การอาบน้ำศพและการรดน้ำศพ



การอาบน้ำศพ


- เป็นการชำระร่างกายศพให้สะอาด และแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต ถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว เป็นหน้าที่ของบุตรธิดาโดยเฉพาะ ไม่นิยมเชิญคนภายนอก
- การอาบน้ำให้ศพกระทำด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วล้างด้วยน้ำเย็น ฟอกสบู่ ขัดถูร่างกายศพให้สะอาด
- เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้ว ก็เอาน้ำขมิ้นทาตามร่างกาย ตลอดถึงฝ่ามือฝ่าเท้าแล้วประพรมด้วยน้ำหอม
- ถ้าเป็นศพที่ตนเคารพนับถืออย่างยิ่ง เช่น บิดา มารดา ฯลฯ ก็นิยมเอาผ้าขาว หรือผ้าเช็ดหน้า ซับใบหน้า ฝ่ามือทั้งสองและฝ่าเท้าทั้งสอง เพื่อถอดเอารอยหน้ารอยฝ่ามือและฝ่าเท้า ไว้กราบไหว้บูชา หรือใช้เป็นผ้าประเจียด
- ต่อจากนั้นก็แต่งตัวศพ ตามฐานะของผู้ตาย เช่น เป็นข้าราชการก็แต่งเครื่องแบบเป็นต้น
- เมื่อแต่งตัวศพเสร็จเรียบร้อย จึงนำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอการรดน้ำต่อไป


การตั้งเตียงรดน้ำศพ


นิยมตั้งเตียงไว้ด้ายซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านบนศรีษะของศพ นิยมให้ศพนอนหงายหันด้านขวามือของศพ หรือด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางผู้ที่มาแสดงความเคารพ และใช้ผ้าใหม่ๆหรือผ้าแพรคลุมตลอดร่างศพนั้นโดยเปิดหน้าและมือขวาไว้เท่า นั้น


การรดน้ำศพ


- เจ้าภาพควรเตรียมน้ำอบ น้ำหอม พร้อมขันใส่น้ำผสมน้ำอบน้ำหอม และขันเล็กสำหรับตักน้ำยื่นให้แขก และขันขนาดใหญ่มีพานรองรับน้ำที่รดมือศพด้วย หรือจะขอร้องให้ทางเจ้าหน้าที่ฌาปนสถานจัดเตรียมให้ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
- ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น นิยมให้เจ้าภาพ หรือเชิญผู้มีอาวุโสเป็นประธานในพิธีจุดเครื่องบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจุดเครื่องทองน้อย (หรือธูปเทียน) ทางด้านศรีษะศพ แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป โดยเวลาที่นิยมในการรดน้ำศพโดยทั่วไปคือเวลา 16.00-17.00 น.
- นิยมให้ลูกหลาน ผู้ใกล้ชิด ทำการรดน้ำศพเสียก่อน ถึงเวลาเชิญแขกเพื่อมิให้คับคั่งเสียเวลารอคอยของแขกผู้มาแสดงความเคารพ
- เจ้าภาพควรจัดคนให้ทำหน้าหน้าที่คอยรับรองและเรียนเชิญแขกเข้ารดน้ำศพโดยนิยมให้ลูกหลาน หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพทำหน้าที่
- เมื่อแขกรดน้ำศพหมดแล้ว จึงเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ในที่นั้น เป็นผู้แทนรดน้ำศพ ด้วยน้ำหลวงอาบน้ำศพ หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นคนสุดท้าย
- เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั้น ได้รดน้ำหลวงอาบศพหรือได้รดน้ำศพแล้วถือกันว่าเป็นอันเสร็จพิธีรดน้ำศพ ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป


หน้าที่ประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพ


ประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพ ก่อนจะรับน้ำหลวงจากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ต้องถวายคำนับไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ 1 ครั้ง ก่อนรับน้ำหลวงอาบศพจากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เมื่อรับแล้ว ให้รดน้ำหลวงอาบศพ โดยเทตรงบริเวณทรวงอกศพ แล้วจึงรดน้ำขมิ้นกับน้ำอบไทย จากนั้นถวายความเคารพในทิศทางเดิม เป็นอันเสร็จพิธี


วิธีปฎิบัติในการรดน้ำศพ


- ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ซึ่งมีอาวุโสสูงกว่าตน ก่อนจะทำพิธีรดน้ำศพ นิยมนั่งคุกเข่า น้อมตัวยกมือไหว้พร้อมกับนึกขอขมาโทษต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
- เมื่อยกมือไหว้ขอขมาโทษต่อศพจบแล้ว ก็ถือภาชนะสำหรับรดน้ำด้วยมือทั้งสอง เทน้ำลงที่ฝ่ามือขวาของศพพร้อมกับนึกในใจว่า "อิทัง มะตะกะสะรีรัง อิสิญจิโตทะกัง วิยะ อโหสิกัมมัง" (ร่างกายที่ตายไปแล้วนี่ ย่อมเป็นอโหสิกรรม ไม่มีโทษ เหมือนน้ำที่รดแล้วฉะนั้น)
- เมื่อรดน้ำศพเสร็จแล้ว นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับอธิฐานว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"


การจัดศพลงหีบ


เมื่อเสร็จพิธีรดน้ำศพแล้ว สำหรับการจัดศพลงหีบนั้น นิยมมอบให้เจ้าหน้าที่ของวัด เป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย แล้วจะได้ตั้งบำเพ็ญกุศพต่อไป สำหรับศพที่ได้รับพระราชทานโกศหรือหีบหลวง ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ


การตั้งศพ


- เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ตามไฟ (คือให้ตั้งตะเกียงมีโคมและหรี่ไฟไว้ที่ปลายเท้าศพ 1 ที่)
- ในพิธีทางราชการ เมื่ออาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบ นำขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว จะนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป (หรือ 20 รูป) สดับปรกรณ์ (บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพและญาติๆกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี
- สำหรับศพชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันนิยม นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป (หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ) เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพหรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (จะเป็นผ้าไตร จีวร สบง ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดหน้าก็ได้) เมื่อพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จพิธีการตั้งศพ


การจัดสถานที่ตั้งศพ


- กรณีหากผู้ตายเป็นผู้ใหญ่แห่งตระกูล และบริเวณบ้านเรือนกว้างขวางเหมาะสมแก่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้ ก็นิยมจัดตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน เพราะโดยมากก็นิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้เป็นเวลานานอย่างน้อยก็ครบ 100 วัน จึงจะทำพิธีพระราชทานเพลิงศพหรือทำการฌาปนกิจศพ
- กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่บ้านแต่สถานที่ที่บ้านไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ตั้ง ศพ มักนิยมนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดใดวันหนึ่งใกล้บ้าน หรือวัดที่เหมาะสมแก่ฐานะของผู้ตาย
- กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล นิยมนำศพไปจัดตั้งที่วัด เพราะถือกันว่าไม่ควรนำศพเข้าบ้านและถือปฎิบัติเช่นนั้นโดยทั่วไป


4. การจัดงานบำเพ็ญกุศล



การสวดพระอภิธรรม


- การสวดพระอภิธรรม ประจำคืน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สวดหน้าศพ" นิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน
- โดยนิยมสวด 1 คืน , 3 คืน , 5 คืน , 7 คืน (ในบางรายหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จนครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจศพ)
- ตามประเพณีนิยมแต่โบราณ จะนิมนต์พระสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ พระสงฆ์ จะลงสวดเวลาตามแต่ละท้องถิ่น (ปกติจะนิยมเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.)
- ต้องจัดให้มีเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าสบงเพื่อถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุลให้ผู้เสียชีวิต (ปัจจุบัน ทางฌาปนสถานหรือทางวัด จะมีบริการจัดหาให้)
- ปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา
- ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขกที่มาฟังสวดทุกคืน
- ถ้าผู้ตายเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย นิยมเปิดโอกาสให้มีการจองเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป แล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีพระคุณ หรือ มีอุปการคุณแก่ตน ตามประเพณีนิยมของสังคม


การจัดงานทำบุญ


- ตามประเพณีไทย ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพ จะมีการบำเพ็ญกุศลทำบุญครบรอบวันตาย (ครบ 7 วัน , 50 วัน , 100 วัน) แต่ปัจจุบันจะนิยมจัดงานบำเพ็ญกุศล 7 วัน
- ส่วนมากจะนิมนต์พระสงฆ์ โดยสวดพระพุทธมนต์และฉันเพล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย (โดยญาติ จะจัดอาหารจัด , เครื่องสังฆทานไทยธรรม มาเอง หรือให้ฌาปนสถานหรือทางวัดดำเนินการก็ได้)


5. การบรรจุเก็บศพ


- การบรรจุเก็บศพ จะกระทำในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรม โดยสวดศพจบสุดท้ายเสร็จแล้วจะนำศพไปเก็บที่สุสาน หรือ ที่ศาลา ... หลังจากสวดพระอภิธรรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอญาติหรือรอโอกาสอันเหมาะสม ที่จะทำการฌาปนกิจหรือบรรจุศพฝังไว้ในสุสานต่อไป
- ญาติจะกำหนดเองว่าจะเก็บศพวันใด กี่วัน โดยทำการตกลงกับทางวัดหรือฌาปนสถาน
- ญาติจะต้องเตรียมผ้าไตร ดอกไม้ ธูป เทียน ลูกดินห่อด้วยกระดาษสีขาว-ดำ ใส่ถาดไว้เพื่อแจกแขกผู้มาร่วมงานคนละก้อน จะมีดอกไม้ด้วยก็ได้ (ปัจจุบัน ส่วนมากทางวัดหรือทางฌาปนสถาน จะมีบริการจัดหาให้)
- นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล 1 รูป ไว้ในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรมเพื่อดำเนินการบรรจุศพไว้ โดยประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถาน


ขั้นตอนการปฎิบัติในพิธีบรรจุศพ


- เจ้าหน้าที่จัดสถานที่ประกอบพิธีบรรจุศพ ณ บริเวณหน้าที่ตั้งศพ
- เชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล 1 ไตร (บางงานจะไปทอดผ้าบังสุกล ณ สถานที่เก็บศพ) แล้วนิมนต์พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
- เชิญประธานในพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำและช่อดอกไม้บนพานหน้าศพเป็นอันดับแรก
- เชิญผู้ร่วมพิธีวางห่อดินขาว-ดินดำและช่อดอกไม้บนพานหน้าศพ ตามลำดับ
- เมื่อทุกคนวางห่อดินและช่อดอกไม้เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเคลื่อนศพไปยังสถานที่เก็บศพ
- บรรดาญาติและผู้ที่เคารพนับถือ จะจุดธูปเทียนวางพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้เป็นอันดับสุดท้าย


6. การฌาปนกิจศพ


- การฌาปนกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการฌาปนกิจศพที่แน่นอน แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถานก่อนทั้งนี้เพื่อเป็นการ เลือกจองวันและเวลาที่ต้องการ
- กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกวาระหนึ่ง โดยสวดก่อน 1 คืนแล้ววันรุ่งขึ้นจะทำพิธีฌาปนกิจ
- หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก เพียงแต่ยกศพขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในบ่าย แล้วทำการฌาปนกิจศพในตอนเย็น การกระทำเช่นนี้มักเรียกกันว่า "ตั้งเช้า เผาเย็น"
- ถ้าหากศพนั้นเป็นบุพการี สามี ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายอีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมให้อีก


การบำเพ็ญกุศลหน้าศพ


ในวันที่จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ หรือฌาปนกิจศพ นั้น จะนิยมบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตายก่อน เช่น

- จัดพิธีบวชลูกหลานเป็นพระภิกษุหรือสามเณรที่เรียกว่า "บวชหน้าไฟ"
- นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูปสวดพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพล (อาจจะเลี้ยงพระเพิ่มจำนวนเท่าใดก็ได้)
- จัดให้มีพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
- นิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกา - บังสุกุล (จำนวนพระสงฆ์ 10 รูปหรือนิยมเท่าอายุผู้ตายหรือตามศรัทธา)
- ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เป็นเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลหน้าศพ

เจ้าภาพ จะต้องเตรียมอุปกรณ์หลักๆ ได้แก่
1. เครื่องไทยธรรม ผ้าสบงถวายพระสวดมนต์ฉันเพล
2. เครื่องไทยธรรมผ้าไตร และเครื่องติดกันเทศน์ถวายพระเทศน์
3. ผ้าไตรประธานเพื่อทอดบังสุกุล และมหาบังสุกุลก่อนทำการฌาปนกิจ
4. ผ้าสบงถวายพระสวดมาติกาบังสุกุลตามจำนวนพระสวด (ส่วนใหญ่มักจะนิมนต์ 10 รูป
แต่บางแห่งจะนิมนต์พระทั้งวัดหรือตามจำนวนอายุของผู้ตาย)
5. เตรียมดอกไม้จันทน์ให้กับแขกผู้มาร่วมงาน และดอกไม้จันทน์สำหรับประธานพิธี
(ปัจจุบันทางวัดหรือฌาปนสถาน จะมีบริการจัดเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ให้ทั้งหมด แต่
หากทางเจ้าภาพอยากจะจัดหามาเองก็ได้)


เคลื่อนศพไปสู่เมรุ


- หลังจากบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย ก่อนจะเคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุนั้น นิยมให้ลูกหลานคนใกล้ชิ้นผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ เพื่อเป็นการอภัยโทษที่เคยล่วงเกินต่อกัน โดยตั้งจิต หรือกล่าวคำขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน [อาจจะออกนามผู้ตามก็ได้] ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมด้วยเถิด)


พิธีแห่ศพเวียนเมรุ


- การเคลื่อนศพต้องนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เป็นผู้นำศพ เวียนรอบเมรุ 3 รอบ
- การเวียนต้องเวียนจากขวาไปซ้ายของเมรุ คือ เดินเวียนซ้ายเมรุ (เมรุอยู่ทางซ้ายมือของผู้เดิน) เริ่มจากบันไดหน้าเมรุ
- เจ้าภาพและญาติของผู้ตายต้องเดินเข้าขบวนตามศพเวียนรอบเมรุด้วย
- ถ้าศพนั้นมีรูปถ่ายของผู้ตาย ซึ่งนำไปตั้งไว้ในที่บำเพ็ญกุศล ก็ต้องมีผู้ถือรูปถ่ายนำหน้าศพไปในขบวน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ และมีคนถือเครื่องทองน้อยหรือกระถางธูปนำหน้าศพ
- ลำดับการแห่ศพ ถือหลัก "พระ-กระถางธูป-รูปภาพ-ศพ-ญาติมิตร"
- เมื่อได้นำศพเวียนรอบเมรุครบ 3 รอบแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพขึ้นตั้งบนเมรุ


การทอดผ้าบังสุกุล


- การทอดผ้าบังสุกุลนั้น เจ้าภาพจะต้องพิจารณาว่า แขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่เชิญไว้ มีจำนวนเท่าใดก็จัดผ้าไตรเท่ากับจำนวนแขกชั้นผู้ใหญ่ ส่วนจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นควรให้เป็นไปตามความเหมาะสม
- การเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุล เจ้าภาพจะต้องไปเชิญด้วยตนเอง โดยมีผู้ถือพานผ้าไตรตามเจ้าภาพไปด้วย
- แต่ถ้าแขกที่เป็นประธานเป็นผู้ใหญ่ชั้นสูง หรือเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของเจ้าภาพ ก็ควรถือพานผ้าไตรไปเชิญด้วยตนเอง
- เมื่อแขกผู้รับเชิญลุกจากที่นั่ง เจ้าภาพหรือผู้ถือพานผ้าไตรก็เดินตามแขกผู้นั้นไป
- เมื่อขึ้นบันไดเมรุแล้วก็ส่งมอบผ้าไตรให้ ผู้ทอดผ้าก็จะรับผ้าไตรนำไปวางลงตรงที่สำหรับทอดผ้า แต่ถ้าไม่มีการจัดที่สำหรับทอดผ้าไว้ ก็วางผ้าไตรนั้นลงบนหีบศพทางด้านหัวนอนศพ แล้วผู้ทอดผ้าก็คอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์จะมาชักผ้าบังสุกุล
- โดยลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุลนั้น จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานในพิธีขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นอันดับสุดท้าย
- เมื่อประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงต่อไป


วิธีปฎิบัติการเผาศพ


- นิยมยืนตรง ห่างจากศพ ประมาณ 1 ก้าว
- ถ้าแต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมยืนตรงโค้งคำนับ
- ถ้ามิได้แต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมน้อมไหว้ พร้อมทั้งธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ที่อยู่ในมือ
(เฉพาะศพนั้นมีอาวุโสสูงกว่าตน หรือ มีอาวุโสรุ่นราวคราวเดียวกัน)
- ขณะที่ยืนตรงโค้งคำนับ หรือ น้อมไหว้นั้น ควรตั้งจิตขอขมาต่อศพนั้นว่า
"กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรด อโหสิกรรมให้แก่ ข้าพเจ้าด้วยเถิด)
- เมื่อขอขมาต่อศพเสร็จแล้ว น้อมตัวลงวางธูป เทียน ดอกไม้จันทน์ ที่เชิงตะกอน ในขณะนั้นควรพิจารณาตัวเองถึงความตาย ว่า "ร่างกายของมนุษย์เรานี้ ย่อมมีความตาย เป็นธรรมดาอย่างนี้ เป็นปกติอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความตายอย่างนี้ไปได้เลย" ดังคำพระที่ว่า "อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ธัมโม เอวัง ภาวี เอวัง อะนะตีโต"
- เมื่อพิจารณาตัวเองระลึกนึกถึงความตายจบแล้ว ยืนตรง โค้งคำนับ หรือ ยกมือไหว้ศพอีกครั้ง พร้อมกับนึกอธิฐานในใจว่า "ขอจงไปสู่สุคติๆเถิด"


เผาจริง-เผาหลอก


ธรรมเนียมปฎิบัติที่นิยมกันในปัจจุบันสำหรับการฌาปนกิจศพ จะมีพิธีการ "เผาหลอก" ก่อน แล้วจึง "เผาจริง" คือจะให้แขกที่มาร่วมงานทั้งหลาย ไปวางธูปเทียน ดอกไม้จันทน์ที่หน้าหรือใต้หีบศพ เพื่อแสดงความเคารพศพ ซึ่งเสมือนเป็นการทำพิธีเผาศพโดยสมมติ ยังไม่ใช่พิธีการเผาศพจริง ครั้นเมื่อแขกผู้ร่วมพิธีได้ทำความเคารพศพโดยสมมติหมดแล้ว จึงนิยมให้วงศาคณาญาติมิตรสหายสนิทผู้ใกล้ชิดกับผู้ตายขึ้นไปทำการเผาศพจริง อีกครั้งหนึ่ง จึงเสร็จพิธีเผาศพบริบูรณ์

การเผาจริง-เผาหลอกนี้เป็นธรรมเนียม เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา โดยแต่เดิมนั้น การฌาปนกิจศพจะมีแต่การ "เผาจริง" เพียงอย่างเดียวและจะทำกันในเวลาช่วงบ่ายถึงเย็น แต่เนื่องจากเกรงว่า การเผาศพจะก่อให้เกิดกลิ่น ซึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้มาร่วมงาน จึงเกิดธรรมเนียมใหม่คือ ให้มีการปิดหีบไว้ก่อนกันไม่ให้ไฟลามได้ ต่อเมื่อผู้คนที่มาร่วมงานได้กลับไปหมดแล้ว จึงจะทำการ "เผาจริง" โดยจะเหลือแต่เพียงเจ้าภาพ ญาติมิตรสหายสนิทเท่านั้น ที่อยู่ร่วมพิธี

ดังความตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบันทึกไว้ เกี่ยวกับที่มาของพิธีเผาจริงและเผาหลอก ว่า "…แท้ จริงเปนความคิดของพวกเจ้าพนักงานเผาศพหลวงในตอนปลาย ๆ รัชกาลที่ 5 เพื่อมิให้ผู้ที่ไปช่วยงานเผาศพเดือดร้อนรำคาญเพราะกลิ่นแห่งการเผาศพ ในเวลาที่ทำพิธีพระราชทานเพลิง จึงปิดก้นโกษฐ์หรือหีบไว้เสียและคอยระวังถอนธุปเทียนออกเสียจากภายใต้ เพื่อมิให้ไฟไหม้ขึ้นไปถึง ตอนดึกเมื่อผู้คนคนไปช่วยงานกลับกันหมดแล้ว จึงเปิดไฟและทำการเผาศพจริง ๆ …ดังนั้นจึงเกิดเปนธรรมเนียมขึ้นว่า ผู้ที่มิใช่ญาติสนิทให้เผาในเวลาพระราชทานเพลิง ญาติสนิทเผาอีกครั้ง 1 เมื่อเปิดเพลิงกรมนเรศร์ เป็นผู้ที่ทำให้ธรรมเนียมนี้เฟื่องฟูขึ้น และเป็นผู้ตั้งศัพท์ เผาพิธี และ เผาจริง ขึ้น…"


ตัวอย่างลำดับพิธีการฌาปนกิจศพ


09.00 น.    - เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล
10.15 น.    - นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
10.20 น.    - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
10.25 น.    - อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
10.30 น.    - พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
11.00 น.    - ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม
12.00 น.    - เลี้ยงอาหารกลางวันแก่ญาติมิตรและแขกที่มาในงาน
14.00 น.    - นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
14.05 น.    - เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
14.10 น.    - อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวายกัณฑ์เทศน์
15.00 น.    - นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
15.30 น.    - เคลื่อนศพเวียนเมรู 3 รอบ (พระสงฆ์นำศพ 1 รูป)
15.45 น.    - เชิญศพขึ้นสู่เมรุ
16.00 น.    - อ่านคำและยืนไว้อาลัย (ถ้ามี)
                     - เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล (ลำดับจากผู้อาวุโสน้อยไปมาก)
                     - ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ
                     - เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง


7. การเก็บอัฐิ


ในการกำหนดเวลาเก็บอัฐินั้นสุดแล้วแต่เจ้าภาพจะต้องการ โดยนิยมปฎิบัติกัน 2 แบบคือ

1) ทำพิธีเก็บอัฐิในวันเผา : ใช้ปฎิบัติในงานพระราชทานเพลิงศพ หรืองานฌาปนกิจศพที่จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลอัฐิติดต่อกัน เพื่อรวบรัดงานให้เสร็จภายในวันนั้น
2) ทำพิธีเก็บอัฐิในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น : ใช้ปฎิบัติในงานเผาศพที่เจ้าภาพ ประสงค์จะทำบุญอัฐิในวันรุ่งขึ้น (ทำบุญสามหาบ) หรือยังไม่จัดทำบุญอัฐิเพราะยังไม่พร้อม

- เจ้าภาพต้องแจ้งความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ของวัดทราบ และจัดเตรียมโกศสำหรับบรรจุอัฐิ น้ำอบหรือน้ำหอม ดอกไม้ และอาหารคาวหวานสำหรับถวายพระสงฆ์
- โดยนิมนต์พระสงฆ์มาพิจารณา "บังสุกุลอัฐิ" หรือที่เรียกว่า "แปรรูป" หรือ "แปรธาตุ"
- ในการเก็บอัฐินั้น เจ้าหน้าที่สัปเหร่อ นิยมทำพิธีแปรธาตุ คือ นำเอาอัฐิของผู้ตายที่เผาแล้ว มาวางเป็นรูปร่างคน โดยวางโครงร่างให้หันห้วไปทางทิศตะวันตกแล้วนิมนต์พระสงฆ์ ให้พิจารณา "บังสุกุล ตาย" ก่อน แล้วแปรธาตุโครงร่างกระดูกให้หันหัวไปทางทิศตะวันออก แล้วนิมนต์พระสงฆ์ให้พิจารณา "บังสุกุลเป็น" อีกครั้งหนึ่ง
- ต่อจากนั้นจึงให้เจ้าภาพเก็บอัฐิใส่โกศ โดยเลือกเก็บอัฐิจากร่างกาย รวม 6 แห่ง คือ กระโหลกศีรษะ 1 ชิ้น แขนทั้ง 2 ขาทั้ง 2 และ ซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น
- ส่วนอัฐิที่เหลือ รวมทั้ง "อังคาร" (ขี้เถ้า) ทั้งหมดนิยมกวาดรวมเก็บใส่ลุ้งหรือหีบไม้ แล้วเอาผ้าขาวห่อเก็บไว้ เพื่อนำไปบรรจุในที่อันเหมาะสมหรือนิยมนำไปลอยในทะเล
- เมื่อเก็บอัฐิเสร็จแล้ว นำอาหารคาวหวานไปถวายพระสงฆ์ที่นิมนต์มาพิจารณาบังสุกุล (หรือปัจจุบันจะนิยมทำแบบย่อ คือ หลังจากพระสงห์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ประเคนไทยธรรมบนเมรุเลย)


อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ควรเตรียมพร้อมก่อน


1) โกศ สำหรับใส่อัฐิ
2) ลุ้งหรือหีบไม้ สำหรับใส่อัฐิและอังคารที่เหลือ (หรือใช้ผ้าขาว)
3) ผ้าขาว สำหรับห่อลุ้งหรือหีบไม้ (ประมาณ 2 เมตร)
4) ผ้าบังสุกุล สำหรับทอดบังสุกุล ก่อนเก็บอัฐิ (นิยมใช้ผ้าสบง)
5) น้ำอบไทย 1 ขวด
6) ดอกมะลิ ดอกไม้ เหรียญเงิน (สำหรับโรยบนอัฐิ)
7) อาหารคาวหวาน จัดใส่ปิ่นโต (สำหรับถวายพระสงฆ์)
8) ดอกไม้ธูปเทียน ไทยธรรม (ตามจำนวนพระสงฆ์)


พิธีสามหาบ


พิธีเก็บอัฐินี้ โบราณเรียกว่า "พิธี 3 หาบ" คือ
1. หาบของนุ่ง (สบงจีวร)
2. หาบของกิน (อาหารคาว-หวานถวายพระ)
3. หาบของใช้ (เตา หม้อ ถ้วยชาม เป็นต้น)
ญาติพี่น้องช่วยกันหาบเดินเวียนเมรุ 3 รอบ ก่อนเก็บอัฐิ เรียกกันว่า "พิธีเดินสามหาบ" แล้วนำหาบสิ่งของไปตั้งเรียงไว้ที่อาสน์สงฆ์ เจ้าภาพนำเอาผ้าไตรจีวรไปทอดที่กองอัฐิ นิมนต์พระสงห์ 3 รูป พิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จแล้วถวายสิ่งของสามหาบ พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศกุศลให้ผู้ตาย เรียกว่า "พิธีสามหาบ" ... ในปัจจุบันพิธีสามหาบ มีจัดกันน้อยลง โดยนิยมจัดอาหารใส่ปิ่นโตถวายพระแทน เพราะไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อการปฎิบัติ


บรรจุอัฐิ


- อัฐิที่เหลือจากการเก็บใส่โกศ ซึ่งได้รวบรวมใส่ห่อผ้าไว้นั้น บางรายก็จะซื้อเจดีย์มาบรรจุไว้ที่วัด บางรายก็บรรจุไว้ในเจดีย์หรือพระปรางค์ ซึ่งภายในได้ทำไว้เป็นช่องๆ บางวัดก็ทำที่สำหรับบรรจุอัฐิไว้ตามผนัง กำแพง ระเบียง ของวิหารหรือโบสถ์
- เมื่อญาติได้ตกลงแล้วว่าจะทำการบรรจุอัฐิไว้ที่ใด ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่จัดการ ณ ที่นั้น
- เมื่อเวลาบรรจุ จุดธูปเทียนเคารพอัฐิและบอกผู้ตายว่าจะบรรจุอัฐิไว้ในที่นั้น มีโอกาสเมื่อใดก็จะมาบำเพ็ญกุศลให้ 
- พร้อมกันนั้น นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป มาบังสุกุลให้แก่อัฐิ โดยมีของถวายพระ พร้อมด้วยใบปวารณาตามสมควร
- เมื่อได้บังสุกุลเสร็จแล้ว ก็ใช้น้ำอบหรือน้ำหอมประพรมที่ห่ออัฐินั้น แล้วจึงนำเข้าในที่บรรจุ


8. ลอยอังคาร


คำว่า "ลอย" คือการปล่อยให้ลอยตามน้ำ (หรืออากาศ)
คำว่า "อังคาร" คือ เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว
คำว่า "ลอยอังคาร" จึงหมายถึง การนำอัฐิไปลอยในน้ำ โดยนิยมไปลอยกันในแม่น้ำหรือทะเล

เหตุผลที่คนนิยมลอยอังคารและอัฐิหลังจากฌาปนกิจศพแล้วนั้น เพราะมีความเชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นจากธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมรวมกัน ครั้นเมื่อร่างกายแตกดับแล้วก็ควรให้มันกลับไปอยู่ในสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดย "น้ำ" เป็นหนึ่งในธาตุหลักที่มีลักษณะเย็น สงบ ชุ่มชื่น อีกทั้ง "น้ำ" ยังเป็นสิ่งที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ทำให้เกิดความเชื่อถือตามคตินิยมที่ว่า การนำอัฐิและอังคารไปลอยที่ในแม่น้ำหรือทะเล จะทำให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมีความสุข มีความสงบ ร่มเย็น ชุ่มชื่น เหมือนดัง "น้ำ"

เอกสารอ้างอิง :

1) พิธีการ-พิธีกรรม (ของกองทัพเรือ)
2) คู่มือการประกอบพิธีศพ (ของกรมตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

รวบรวมและเรียบเรียงโดย - JoJho

>>> บริการเรือลอยอังคาร สัตหีบ <<<