วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ที่พักตากอากาศ เขาค้อรีสอทร์ ไร่ธรรมนูณ รอ.สุภาพ อ่อนอุดม ม.พัน13 กองพลทหารม้าที่1 จ.เพชรบูรณ์

นำเสนอ  ที่พักตากอากาศ ไร่ธรรมนูณ เขาค้อรีสอทร์ จ.เพชรบูรณ์ ราคาคาประหยัด  โดย รอ.สุภาพ อ่อนอุดม


มาเขาค้อนึกถึง รอ.สุภาพ อ่อนอุดม  บริการด้วยใจที่เป็นนักบริหารและ นายทหารรักชาติคนหนึ่ง

















มะขามอะหร่อย หวานคราฟ

ผักสดๆจากเขาค้อ

มะขาม แซ๊บเด๋อ 

ผักเขาค้อหวานคร้า 


ดร.สมัย เหมมั่น และ รอ.สุภาพ อ่อนอุดม พร้อมครอบครัวถ่ายรูปร่วมกัน



ธุรกิจพอเพียง ของ รอ.สุภาพ อ่อนอุดม  ที่พักตากอากาศ ไร่ธรรมนูณ เขาค้อ

เล่าความหลังครั้งพี่ชาย มารบเพื่อชาติที่เขาค้อ ต่อสู้กับ ผกค. เมื่อ ติดยศชั้นประทวน

จุดกำเนิดแห่งสงครามความขัดแย้ง
สถานการณ์ก่อการร้าย เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 ในขั้นต้นนั้นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) เข้าแทรกซึมมาจากแนวชายแดนด้านทิศเหนือ และได้ยึดเอาภูหินร่องกล้า เป็นที่มั่น หลังจากนั้น ผกค. ได้ขยายงานรุกเข้าเขาค้อ เพื่อเตรียมสถาปนาเขาค้อให้เป็นฐานที่มั่นในการรุกต่อไป
เนื่องจากเขาค้อ มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่ารกทึบสูงชันยากต่อการตรวจการณ์ทางอากาศและทางพื้นดิน นอกจากนี้ตามเทือกเขาต่าง ๆ ยังมีถ้ำอยู่มากมายเหมาะสำหรับเป็นที่หลบซ่อนและสะสมอาวุธ เสบียงไว้เป็นอย่างดี โดยบริเวณที่ราบลุ่มเชิงเขาค้อ เขาปู่ เขาย่า ยังเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงเล็งเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการที่จะเข้ามาเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และทำสงครามกองโจร เพื่อปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาล
จนในปี พ.ศ. 2511 ผกค. ได้เข้ามาปฏิบัติงานในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์ โดยมีสหายดิ่งเป็นหัวหน้าในการเข้ามาปลุกระดมมวลชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นราษฎรชายไทยภูเขาเผ่าม้ง กระทั่งวันที่ 20 พฤศจิกายน 2511 ผกค. จำนวนหนึ่งนำโดยสหายพิชัย ได้จัดกำลังเข้าโจมตีอาสาสมัครคุ้มครองหมู่บ้าน บ้านห้วยทรายเหนือ และได้ประกาศให้วันนั้นเป็นวันเสียงปืนแตกทำให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บเสียชีวิตหลายนาย และ ผกค. ยังได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ไปได้บางส่วน
จากนั้นยังคงส่งกำลังเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของฝ่ายรัฐบาลหลายครั้ง ทำให้มวลชนส่วนใหญ่เกรงกลัวอิทธิพล ผกค. ประกอบกับการโฆษณาชวนเชื่อของผู้ก่อการร้าย ทำให้มวลชนอพยพเข้าไปอยู่ในป่า ร่วมเป็นสมัครพรรคพวกกับ ผกค. และได้จัดตั้งสำนักอำนาจรัฐขึ้นมา
หลังจากนั้นการสู้รบก็ยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ ชีวิตของทหารผู้กล้าต้องพลีชีพไปกับสงครามมากขึ้น ในวันที่ 20 มกราคม 2524 - 19 กุมภาพันธ์ 2524 ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 1 ของรองอำนวยการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 1617 ก็สามารถเผด็จศึกและยึดเขาค้อได้สำเร็จ แล้วยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 2 ก็ตามในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2524 - 10 เมษายน 2524 ผลการปฏิบัติงานสามารถกวาดล้างและทำลายฐานที่มั่นของ ผกค. ได้สำเร็จ
แต่อิทธิพลที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทำให้ต้องเปิดยุทธการหักไพรีขึ้นตามด้วย ยุทธการผาเมืองเกรียงไกรที่หมายบริเวณภูขัด ภูเมี่ยง ทำให้ฝ่ายเราสามารถเข้ายึดพื้นที่ได้สำเร็จ มีมวลชนเข้ามอบตัวเป็นผู้พัฒนาชาติไทยเป็นจำนวนมาก
ประวัติ ผกค. กลุ่มเขาค้อ
        เมื่อปี พ.ศ 2511 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ส่งผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้ามาปฏิบัติงานในเขตรอยต่อ 3จังหวัด (พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, เลย) รวม 9 หน่วย คือ
                                                            1. หน่วยสหายสมหวัง       
                                                            2. หน่วยสหายคำเพชร       
                                                            3. หน่วยสหายชู                  
                                                            4. หน่วยสหายพิชัย 
                                                            5. หน่วยสหายสด        
                                                            6. หน่วยสหายทัด
                                                            7. หน่วยสหายเจริญ
                                                            8. หน่วยสหายรวม
                                                            9. หน่วยสหายชิวา
            1.หน่วยสหายสดโดยมีสหายดั่ง (นายดำริห์) เป็นหัวหน้า ได้เข้ามาปลุกระดมมวลชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นราษฏรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ซึ่งอาศัยอยู่กระจัดกระจายตามเทือกเขาต่างๆ ในเขตบริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด ซึ่งต่อมากลางปี 2511 ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กลุ่มดังกล่าว ได้จัดตั้งทหารหลัก โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบออกเป็น 3 ชุด คือ
              ชุดที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบ บริเวณภูหินร่องกล้า ภูขี้เถ้า และบ้านทับเบิก
              ชุดที่ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบ บริเวณเขาค้อ
              ชุดที่ 3 มีหน้าที่รับผิดชอบ บริเวณที่ราบของอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์       
โดยแต่ละชุดจะเปิดโรงเรียนการเมือง การทหาร
             ผกค. กลุ่มเขาค้อ มีชื่อรหัสเขตงานว่า เขต ข.33 ปฏิบัติงานด้านการเมือง การทหารครอบคลุมพื้นที่ อ.หล่มสัก อ.เมือง อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ อ.เนินมะปราง รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของ อ.นครไทย จ.พิษณุโลกผกค.กลุ่มเขาค้อ มีฐานที่มั่นประกอบด้วยสำนักอำนาจรัฐ โรงเรียนการเมืองการทหาร สำนักพลเขตนายร้อยพลาธิการ สำนักทหารช่าง สำนักเคลื่อนที่กองร้อยทหารหลัก 515 กองร้อยทหารหลัก 520 พยาบาลเขตและคลังเสบียง อาวุธ รวมทั้งหมู่บ้านปลดปล่อยในอิทธิพล คือ บ้านภูชัย บ้านแสงทอง หลักชัย ชิงชัย กล้าบุก ทุ่งแดง รวมพลัง รวมสู้ ต่อสู้ (ไม่ปรากฏในแผนที่เพราะเป็นที่จัดตั้ง)ฐานที่มั่นและหมู่บ้านในอิทธิพลเหล่านี้กระจายอยู่ตามเทือกเขาต่าง ๆ บริเวณบ้านหนองแม่นา สะเดาะพง เขาค้อ เขาย่า เขาหลังถ้ำ รวมพื้นที่ฐานมั่น ผกค. ประมาณ 50 ตร.กรม.
        เมื่อ 20 พ.ย. 2511 ผกค. กลุ่มเขาค้อประกาศวันเสียงปืนแตก ด้วยการเข้าโจมตีหมู่บ้านเล่าลือ มีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายและ ผกค. ได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์บางส่วน จากนั้นได้โฆษณาชวนเชื่อชาวเขาเผ่าม้ง บริเวณนี้ว่าเจ้าหน้าที่จะทำการแก้แค้นด้วยการกวาดล้างและฆ่าชาวม้งทุกคน จึงเป็นเหตุให้ชาวเขาเหล่านี้เกิดความหวาดกลัวต่างพากันอพยพเข้าร่วมเป็นสมัครพรรคพวกกับ ผกค. กลุ่มเขาค้อเป็นต้นมา
        เมื่อ ผกค. กลุ่มเขาค้อ มีกำลังแข็งแผ่อิทธิพลครอบคลุมชาวเขาประมาณ 3,000 คน เหล่านี้ไว้ได้ทั้งหมด ประมาณปี 2513 ผกค. ได้จัดตั้งกองร้อยเคลื่อนที่เร็ว 515 และกองกำลังติดอาวุธ 511 นั้นมีหน้าที่เขตรับผิดชอบ
            กองร้อย 515 แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน 
ส่วนที่ 1 ปฏิบัติงานด้านการเมือง ตามหมู่บ้านพื้นราบเชิงเขา เขต อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ส่วนที่ 2 กลางเมืองตามหมู่บ้านพื้นราบเชิงเขาเขต กิ่ง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
            ประมาณปี พ.ศ. 2514 ยุบกองร้อย 515 กับกองร้อย 511 รวมกันเป็นกองร้อย 515 ต่อมาปี 2520 ได้ยกระดับทหารบ้าน ซึ่งได้รับการฝึกเป็นกองร้อยทหารหลัก 520
        จากการดำเนินงานด้านการข่าว ทำให้เราทราบว่า ผกค. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ได้สถาปนาอำนาจรัฐประชาชนขึ้นในเขตฐานที่มันคงของ ผกค. กลุ่มเขาค้อเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและมีอายุยืนยาวถึง 10 ปี และมีระบบโครงสร้างการจัดการค่อนข้างมั่นคง มีคณะกรรมการบริหารเรียกว่า "คณะกรรมการรัฐ" ซึ่งประกอบด้วย
- ประธานกรรมการรัฐ
- รองประธานกรรมการรัฐ
- กรรมการรัฐฝ่ายปกครอง
- กรรมการรัฐฝ่ายเศรษฐกิจ
- กรรมการรัฐฝ่ายทหาร
- กรรมการรัฐฝ่ายศึกษาและเยาวชน
- กรรมการรัฐฝ่ายสาธารณสุข
- กรรมการรัฐฝ่ายโฆษณา
- กรรมการรัฐฝ่ายการพาณิชย
- กรรมการรัฐฝ่ายสตรีและเด็ก
นอกจากนั้นยังมีสภาผู้แทนประชาชนปฏิวัติประกอบด้วยสมาชิกสภาจำนวน 55 คนที่ได้รับเลือกมาจากราษฎรและทหารในเขตฐานที่มั่น ทำหน้าที่กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมและตัดทอนกฎหมายลงมติโครงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อความสงบเรียบร้อย มั่นคง และก้าวหน้าของเขตฐานที่มั่น และติดตามตรวจสอบการบริหารของกรรมการบ้านและกรรมการรัฐในการพิจารณาคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในฐานที่มั่น มีศาลประชาชนซึ่งประกอบด้วยศาลผู้พิพากษา และคณะกรรมการกฎหมายมีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ (ฐานที่มั่น) ตามกฎหมายที่กำหนดขึ้นไว้
ด้านการปกครอง มีการจัดองค์การบริหารถึงระดับหมู่บ้าน มีเจ้าหน้าที่คือ คณะกรรมการบ้านเป็นผู้บริหาร
ด้านการทหาร มีทหารหลักที่จะรักษาความปลอดภัยแก่ฐานที่มั่น และมีทหารบ้านเป็นกำลังสำรอง  ทหารเหล่านี้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านเศรษฐกิจ มีการวางโครงการเกี่ยวกับการผลิตแต่ละปีไว้อย่างแน่ชัด คือ ผลิตไว้เพื่อสำรองเวลาสู้รบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ในกรณีที่การรบยืดเยื้อ ผลิตกเพื่อใช้ เลี้ยงทหาร ประชาชน ที่อยู่ในเขตฐานที่มั่น
ด้านการพาณิชย์ มีการซื้อของใช้ที่จำเป็นจากภายนอกเข้าไปจำหน่ายแก่ พวกทหารและประชาชนในเขตฐานที่มั่นไว้อย่างแน่นอน
ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม มีการเปิดโรงเรียนสอนลูกหลานของทหารและประชาชนจนถึงระดับหมู่บ้าน
ด้านการสาธารณสุข มีหมอบ้าน สำนักเภสัชและยาป่ารวมทั้งมีการจัดตั้ง โรงเรียนแพทย์เพื่อผลิตหมอ ในอนาคตจะจัดตั้งสถานอนามัยขึ้นบริการแก่ชาวบ้าน 2 - 3 หมู่บ้านต่อ 1 แห่ง
ด้านสตรีและเด็ก มีการดำเนินงานจัดองค์การบริหารจนถึงระดับหมู่บ้าน
นโยบายด้านเศรษฐกิจ ให้ยืนหยัดทำการผลิตรวมหมู่เป็นหลักในการดำเนินการ และผลิตเพื่อใช้ส่วนตัวเป็นรองยึดมั่นการพึ่งตนเอง ความมุ่งหมายในการผลิต คือ การทำนา ปลูกฝ้าย เพื่อใช้ผลิต เครื่องนุ่งห่ม ผลิตยาสมุนไพร และการต้มเกลือ ใช้ประกอบอาหารและต้องผลิตให้เพียงพอ ทุกหมู่บ้าน จะต้องเตรียมข้าวสำรองไว้อย่างน้อยหมู่บ้านละ 4 - 5 ถัง พร้อมทั้งให้เตรียมเสบียงอาหารแห้งไว้ให้พร้อม ถ้าหากถูกโจมตีจะใช้ข้าวและเสบียงที่สะสมเป็นอาหารเลี้ยงชีพระหว่างการสู้รบหรืออพยพหลบหนี
นโยบายด้านการทหาร ต้องพึ่งจำนวนของตัวเองเป็นหลัก ให้ทุกหมู่บ้านส่งลูกหลานที่มีอายุเข้าเกณฑ์เป็นทหารให้ยกระดับทหารบ้านให้สูงขึ้น พร้อมที่จะจัดตั้งเป็นกำลังรบหลักหรือช่วยเหลือทหารหลักในการสู้รบกับเจ้าหน้าที่ให้ทหารทุกคนเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับฝ่ายรัฐบาล
การสู้รบปราบปราม ผกค.
ในอดีตพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด (พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย) ตั้งแต่เขาค้อ ภูหินร่องกล้า ไปจนถึงภูขัด ภูเมี่ยง ได้เคยเป็นสมรภูมิเลือดคนไทยทั้งหลายทราบกันดี พี่น้องคนไทยต้องฆ่าฟันกันเองทั้งนี้เพราะเกิดความเข้าใจผิดและไม่เข้าใจต่อกันความขัดแย้งระหว่างคนไทยบางกลุ่มที่านมาไม่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้อีกต่อไปและความสงบได้กลับคืนมาอีกครั้ง
การที่สถานการณ์คลี่คลายมาในทางที่ดีและปกติสืบต่อไปนั้นเราทั้งหลายเป็นหนี้บุญคุณของผู้เสียสละกลุ่มหนึ่ง ผู้ที่ได้พลีชีวิตและเลือดเนื้อแด่พื้นแผ่นดินแห่งนี้
ลักษณะโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าไม้ผืนใหญ่ยกตัวในระดับความสูงและต่ำลงมาเป็นป่าโปร่งมีราษฎรชาวเขาเผ่าม้งบุกรุกถากถางพื้นที่ทำกินบริเวณไหล่เขา บางพื้นที่เป็นแหล่งพื้นที่ปลูกพืชเสพติด เช่น ฝิ่น และกัญชา เป็นต้น บริเวณที่ราบเชิงเขาและบริเวณซอกเขามันจะเป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขา
เดือนมีนาคม 2511 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ส่ง ผกค. เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่รอยต่อจังหวัด มีการปลุกระดมชาวเขาเผาม้งให้เกลียดชังเจ้าหน้าที่และให้หันมาร่วมมือกับฝ่าย ผกค. ด้วยการชี้นำให้ราษฎรจับอาวุธ ขึ้นต่อสู้กับเจ้าหน้าที่โดยอ้างว่า เพื่อปลดแอกอำนาจรัฐ กองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปจัดตั้ง
ราษฎรอาสาสมัครคุ้มครองหมู่บ้านที่บ้านห้วยทรายเหนือ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งที่ตั้งบ้านเรือนกันอย่างหนาแน่น ผกค.ได้ระดมกำลังโจมตีอาสาสมัครคุ้มครองหมู่บ้านนี้เมื่อ 20 พ.ย. 2511 ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครเสียชีวิต และบาดเจ็บหลายคน จึงถือว่าเป็นวันเสียงปืนแตกในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด เมื่อ 28 ธ.ค. 2511 ผกค. โจมตีฐานปฏิบัติการ บ.เล่าลือ (QU 084234) ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ นับเป็นเหตุการณ์ ผกค. ปฏิบัติการในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดเป็นครั้งที่ 2 เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหาร (ส.อ. แต้ม ขริบ สังกัด ร.4 พัน 3) สูญเสียชีวิตจากการประทะครั้งนั้น
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งในพื้นที่ตอนใต้เส้นทางถนนสายพิษณุโลก - หล่มสัก มีจำนวนมาก เช่น บ.เล่านะ
บ.เล่าเพ้ง บ.เล่าลือ บ.พ้อย บ.หูช้าง บ.สะเดาะพง ฯลฯ ในปี 2511 มีเหลือเป็นของฝ่ายเราเพียงหมู่บ้านเดียว คือ
บ.เล่าลือ นอกนั้นพากันอพยพจากถิ่นที่เดิมไปอยู่ตามไร่ในป่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ผกค. ทั้งสิ้น ในแผนที่จะปรากฏชื่อ "เขาค้อ" อยู่หลายแห่งอาจเป็นเพราะพื้นที่นี้อุดมไปด้วยต้นค้อ (ไม้ยืนต้นคล้ายตาล) ชาวเขาเผ่าม้งมักนิยมนำไปมุง หลังคาบ้าน
ที่กล่าวถึงนี้คือ ยอดเขาค้อที่มีความสูง 1,174 เมตร และบนเทือกเขาลูกเดียวกันมียอดอีกยอดหนึ่งสูง 990 เมตร เป็นยอดเขาเคียงคู่ทางด้านทิศตะวันตก ชื่อ เขาปางก่อ (QU 117376) ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกเทือกเขานี้ว่า "เขาค้อ ปางก่อ" เขาค้อปางก่อเป็นเทือกเขาที่ทอดยาวจากเหนือไปใต้ความยาวตามสันเขาประมาณ 5 - 6 กม. มีลักษณะของเส้นทาง ยุทธศาสตร์พัฒนาตามแนวความคิดของกองทัพภาคที่ 3 ที่จะสร้างเส้นทางจาก บ้านแค้มป์สน (กม.ที่ 100 เส้นทางพิษณุโลก - หล่มสัก) ไปยังบ้านเล่าลือ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเขาสุดท้ายที่เหลืออยู่ในพื้นที่ในปี 2522 กรมทางหลวงทำการสร้างเส้นทางถึงบริเวณพิกัด QU 131392 (ก่อนถึงยอเขาค้อประมาณ 3 กม.) ต้องหยุดชะงักการก่อสร้างเนื่องจากถูกขัดขวางจาก ผกค. บนยอดเขาค้อปางก่ออย่างรุนแรงไม่สามารถสร้างทางต่อไปได้เปลี่ยนให้บริษัทภานุมาศ จำกัด รับเหมาก่อสร้างเส้นทางต่อจากทางหลวงได้ทำไว้
พัน ร.3447 มีการจัดกำลังประกอบ ดังนี้ ผก.พัน จัดการ ร.4 พัน 3 พ.ต.ประวิทย์ กลิ่นทอง กองพัน ร้อย ร.4 จัดการ ร.4 พัน 4 ร.อ. เสน่ห์ พวงกลิ่น ผบ.กองร้อย ร้อย ร. 1741 จัดการ พัน 1 ร.อ.ฤาชา มั่นสุข ผบ.กองร้อย กำลังคุ้มกันสร้างทางฯ จัดการพลเรือนมีนายสมชาย ไชยขวาง เป็นหัวหน้า ตามแผนปฏิบัติการเมื่อได้รับการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศต่อที่หมาย บนยอดเขาค้อ กำลังเข้าปฏิบัติการจะแทรกซึมเข้าทางพื้นดิน หลังจากนั้นบริษัทภานุมาศ จำกัด จะสนับสนุนโดยการเส้นทางจำลองด้วยแทรกเตอร์ 2 คัน และใช้กำลังคุ้มกันตลอดเส้นทาง เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังแนวเส้นทางก่อสร้างกำหนดไปตามพื้นราบขนานกับสันเขาค้อปางก่อทางด้านทิศตะวันออก และไปขึ้นทางเขาค้อทางทิศใต้ เนื่องจากพื้นที่ไม่ชันง่ายต่อการเคลื่อนที่บนยอดเขาค้อ หน่วยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อ 17 ก.ค. 2522 ภายหลังการโจมตีทางอากาศต่อที่หมายบนยอดเขาค้อ กำลังทางพื้นดินเคลื่อนที่ตามแผนปรากฏว่า ผกค. ได้ต้านทานอย่างหนักไม่สามารถเคลื่อนที่รุกตามแผนที่กำหนดหน่วยจึงเปลี่ยนทิศทางเคลื่นที่เข้าหาที่หมายทางเหนือสันเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สูงชัน ผกค. วางกำลังต่อต้านทางด้านนี้น้อยเพราะไม่คาดว่าฝ่ายเราจะปฏิบัติ อีกประการหนึ่ง
ผกค. ได้ดัดแปลงที่มั่นเป็นคูรบไว้ 5 จุด ก่อนที่จะถึงที่หมายบนยอดเขาค้อแต่ละจุดห่างกันประมาณ 300 - 400 เมตร เมื่อฝ่ายเรายึดที่มั่นคูรบไว้ จุดที่ 1 ได้ ผกค.จะถอนตัวไปตั้งรบคูรบที่ 2 เมื่อฝ่ายเรายึดคูรบที่ 2 ได้ ผกค. จะถอนตัวไปตั้งรับจุดที่ 3 ตามลำดับ ผกค. จึงใช้กำลังต้านทานจำนวนน้อยในทิศทางนี้ การต้านทานของ ผกค.นอกจากกำลังทางพื้นดินแล้วยังได้รับการสนับสนุนการโจมตีด้วยอาวุธ กระสุนวิถีโค้ง ค.61 มม. จากยอดเขาค้ออีกด้วย การปฏิบัติการทางพื้นดินสามารถยึดคูรบที่ 3 ได้สำเร็จ ฝ่ายเรากำลังคุ้มกันสร้างทางเสียชีวิต 16 ศพ บาดเจ็บ 32 คน ต่อมาเมื่อ 18 ก.ค. 2522 กำลังฝ่ายเราเคลื่อนที่เข้ายึดที่หมายต่อไป ผกค. รู้แผนการปฏิบัติของฝ่ายเราต้องการยึดเขาค้อ ทางด้านนี้จึงส่งกำลังมาเพิ่มเติมเพื่อขัดขวางการปฏิบัติฝ่ายเราเคลื่อนที่ไปได้อย่างช้า ๆ และภูมิประเทศยากลำบากเป็นป่าทึบและต้องขึ้นเขาสูงชันมากเพราะสามารถยึดคูรบที่ 5 ห่างจากยอดเขาค้อประมาณ 500 - 600 เมตร ไว้ได้ กำลังคุ้มกันสร้างทางเสียชีวิต 12 ศพ บาดเจ็บ 14 คน บริเวณคูรบที่ 4 ผกค. ได้แกะสลักบนต้นไม้ใหญ่ว่า "ทหารไทยจะยึดได้ปี 2521" แต่เรายึดได้ในปี 2522 แสดงว่า ผกค. ได้ประมาณสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะต้องสูญเสียฐานที่มั่นบริเวณนี้อย่างแน่นอนจะสามารถต้านทานฝ่ายเราได้นานกว่าที่คิด
ในวันรุ่งขึ้น 19 ก.ค. 2522 ฝ่ายเราได้รับรองขอการโจมตีทางอากาศต่อที่หมายยอดเขาค้ออีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการโจมตีทางอากาศแล้วกำลังทางพื้นดินได้เคลื่อนที่เข้ายึดที่หมายยอดเขาค้อได้ สำเร็จเมื่อเวลา 13.30 น. ผกค. ได้ต่อต้านเล็กน้อย กำลังฝ่ายเราร้อย ร. 1341 เสียชีวิต 1 นาย (พลฯ จำปา ระเด่น) กองกำลังคุ้มกันสร้างทางเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 7 นาย
เมื่อฝ่ายเรายึดเขาค้อได้จึงสถาปนาความมั่นคงของยอดเขาค้อ โดยใช้ รถแทรกเตอร์สร้างฐานที่มั่นขึ้น ปัจจุบันก็คือฐานกรุงเทพฯ ที่อยู่หน้าอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อนั่นเอง แทรกเตอร์คัดแปลงฐานที่มั่นเสร็จเมื่อเวลา 15.00 น. ก็เคลื่อนที่ยกกลับแค้มป์งานสร้างของบริษัท ภานุมาศ จำกัด ซึ่งอยู่ข้างล่างขณะเดินทางออกจากฐานที่มั่นก็ถูก ผกค. ระดมยิง 57 มม. จากทิศเหนือของฐาน รถแทรกเตอร์หม้อน้ำชำรุดใช้การไม่ได้ต้องเสียเวลาซ่อม 2 - 3 วัน จึงทำงานได้ และปฏิบัติการกรุงเทพฯ เป็นชื่อเรียกตามนามเรียกขานทางวิทยุของร้อย ร. 1741 ที่ยึดเขาค้อได้เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2522
ร้อย ร. 1741 ครบวาระเคลื่อนย้ายกลับหน่วย และหน่วยที่มา สับเปลี่ยนได้ให้เกียรติเรียกชื่อฐานที่ตั้งเดิม คือ ฐานปฏิบัติการกรุงเทพฯ ส่วนนามเรียกขานทางวิทยุก็เปลี่ยนไปตามหน่วยที่ขึ้นปฏิบัติการ ในช่วงระยะเวลาต่อมาประมาณ 2 เดือนเศษ ผกค. ได้ลดระดับปฏิบัติรุนแรงลงฝ่ายเราจึงสถาปนาที่มั่นระหว่างทางขึ้นยอดเขาค้อ 1 ฐาน ชื่อฐานปฏิบัติการบางซื่อ (QU 132384) และฐานที่มั่นทางเหนือของฐานกรุงเทพฯ 2 ฐานชื่อ ฐานปฏิบัติการพิษณุโลก (QU 121381) เป็นป่ากล้วยมีน้ำไหลซึมตลอดปี ผกค.อาศัยน้ำบริเวณนี้ ดื่มอาบและเป็นที่ตั้งอาวุธหนักยิงวิถีตรง (ปรส) ปัจจุบันป่ากล้วยหมดไปน้ำซึมบริเวณนี้ก็หายไป
เมื่อ 1 ต.ค. 2522 พัน ร. 3443 จาก ร.4 พัน 3 โดยการนำของ พ.ท. สนอง หุนตระกูล ผบ.พัน ขึ้นไปสับเปลี่ยนกำลังกับ พ.ร. 3447 ผกค. เริ่มปฏิบัติการกดดันต่อกำลัง ฝ่ายเราด้วยการซุ่มโจมตีตามเส้นทางสู่ยอดเขา คือ ลอบยิงกำลังบนฐานปฏิบัติการและวางกับระเบิดที่รุนแรงที่สุดคือ การวางกับระเบิดขบวนส่งกำลัง โดยฝั่งของกรรมการสัตว์ทหารบกทำให้สัตว์และคนจูงแหลกละเอียดเป็นจุลไม่พบทั้งสัตว์และคนจูง กำลังพลบนเขาค้อเริ่มขวัญตกต่ำ การส่งกำลังไม่สามารถส่งในเวลากลางวันได้กำลังพลบนเขาค้อเมื่อได้รับบาดเจ็บสาหัสมัก เสียชีวิต เพราะไม่สามารถส่งกลับได้การส่งกำลังเปลี่ยนเป็นเวลากลางคืน สามารถส่งกำลังได้ในช่วงเวลาหนึ่งต่อมาก็ถูกจาก ผกค. ด้วยการซุ่มโจมตีและการวางกับระเบิดอีก จึงได้มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนเส้นทางการส่งกำลังและกลับใหม่ ด้วยการสร้างเส้นทางในหุบเขาเคียงคู่กับเส้นทางขวาเมื่อมองไปยังยอดเขาค้อ โดยใช้สันเขาเป็นแนวเส้นทาง เดิมกำบังสามารถใช้ได้ระยะเวลาหนึ่งก็ถูกรบกวนจาก ผกค. อีก เมื่อถูก ผกค. ขัดขวางหนักขึ้นทำให้ไม่สามารถส่งกำลังในเวลากลางวันได้ ขวัญของกำลังพลตกต่ำ ผกค. ในช่วงเวลานี้ปฏิบัติการทางจิตวิทยาต่อฝ่ายเรา ทางเครื่องกระจายเสียงบนเขาค้อให้กำลังพลวางอาวุธและกลับไปอยู่กับครอบครัวเสีย พัน ล. 3443 ตระหนักถึงปัญหานี้ดีจึงแก้ปัญหาโดยให้กำลังพลขุดคูรบ จากยอดเขาค้อลงมาตีนเขาระยะทางประมาณ 2 กม. เศษ เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังและส่งกลับของหน่วยบนเขาค้อครบบางช่วงต้องชุดต่อเมื่อพ้นแนวก้อนหินไปแล้ว การเคลื่อนที่ในช่วงนี้จึงต้องวิ่งข้ามก้อนหินใหญ่จากคูรบหนึ่งไปยังอีกคูรบหนึ่ง บางพื้นที่ไม่มีภูมิประเทศที่กำบังการเคลื่อนที่ก็ต้องใช้เสื่อรำแพนทำเป็นฉากปิดกั้นกำบังแทนการส่งกำลังเมื่อขุดคูรบทำได้สะดวกขึ้น สามารถส่งกำลังและส่งกลับในเวลากลางวันได้ปัญหาและกำลังใจของกำลังพลดีขึ้นแต่เดิมไม่เคยยิ้มแย้มแจ่มใสเปลี่ยนเป็นเสียงหัวร่อต่อกระซิกและมีกำลังใจที่จะต่อสู่ต่อไป การสูญเสียในช่วงที่ขุดคูรบน้อยลง กำลังพลบนเขาค้อได้มีโอกาสลงมาอาบน้ำพักผ่อนในหมู่บ้านของฝ่ายเรา ได้อัดเทปขึ้นไปกระจายเสียงตอบโต้การกระจายเสียงของ ผกค. บนฐานกรุงเทพฯ
สถานการณ์บนฐานกรุงเทพฯ ของต้นปี 2523 กำลังพลจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาพร้อมที่จะรบประชิดเมื่อข้าศึกโจมตี บนฐานไม่มีต้นไม้จะเป็นที่กำบังได้และเมื่อเวรยาม โผล่ศีรษะขึ้นไปตรวจการณ์ก็จะถูกยิงจาก ผกค. อยู่ตลอดเวลาทำให้กำลังพลสูญเสียจากการตรวจการณ์ไปหลายคน จ.ส.อ. ทวี ภารัตน์ จึงมีความคิดเอาระบบกล้องเปอริสโคป (กล้องตาเรือ) มาใช้ทำให้การตรวจการณ์ได้ผล ทราบจาก ผกค. ที่มามอบตัวภายหลังว่า ผกค. มีแนวความคิดจะยึดฐานกรุงเทพฯ ด้วยการขุดคูรบขึ้นมาแต่เมื่อฝ่ายเรานำกล้องเปอริสโคปมาใช้แผนที่จะยึด ฐานกรุงเทพฯ จึงไม่สำเร็จ ประมาณปลายเดือนมีนาคม 2523 มี ผกค. ระดับนักรบชื่อสหายรุ่ง (หลบหนีมามอบตัวกับ พตท. 1617) เปิดเผยว่า ผกค. กำลังขุดคูรบเข้ามาประชิดฐานกรุงเทพฯ และมีส่วนหนึ่งกำลังขุดอุโมงค์จากรอยต่อระหว่างยอดเขาค้อกับขอดเขาปางก่อเข้ามาใต้ฐานกรุงเทพฯ แต่ไม่ทราบว่า ผกค. มีจุดประสงค์ใด ผอ.พตท. 1617 (พล.ต.ระลอง รัตนสิงห์) แจ้งให้พัน ร. 3443 ทราบและให้เพิ่มความระมัดระวังตัวยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกำลังพลบนฐานกรุงเทพฯ
ต่อมาเมื่อ 10 เมษายน 2523 เวลาประมาณ 15.00 น. เศษ เกิดการระเบิดบริเวณคูรบนอกฐานด้านตะวันตกของฐานกรุงเทพฯ แรงระเบิดมีสภาพเช่นเดียวกับการระเบิดหิน เศษดิน ฟุ้งขึ้นไปบนท้องฟ้าไม่ต่ำกว่า 50 เมตร เมื่อสิ้นเสียงระเบิด ผกค. ระดมยิงปืนเล็กทางด้านทิศใต้ของฐานกรุงเทพฯ ฝ่ายเราต้องต่อสู้อย่างเหนียวแน่นด้วยปืนเล็ก เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. (M.79) เครื่องยิงระเบิดขนาด 60 มม. (9.60) ทำให้ ผกค. ไม่สามารถยึดฐานกรุงเทพฯ ได้กำลังพลที่ต่อสู้อย่างเข้มแข็งสามารถรักษาฐานกรุงเทพฯ ไว้ได้ สมควรแก่การสรรเสริญคือ จ.ส.อ.เชิด ทองงามขำ จ.ส.อ.สถิต ชูฤกษ์ และพลทหารอีก 2 นาย ภายหลังเหตุการณ์สู้รบสงบ ทราบจาก ผกค. ว่ามีแผนระเบิดคูรบของ ฐานกรุงเทพฯ เพื่อเปิดช่องทางให้กำลังส่วนรุกปฏิบัติการณ์จู่โจมเข้ายึดฐาน เนื่องจากสหายรุ่งเข้ามอบตัวกลัวว่าแผนเปิดเผยจึงชิงปฏิบัติ การเข้าโจมตีทำให้ระเบิดเพียงขอบฐานภายนอก ไม่เปิดแนวรบแผนกำลังที่จะเข้าจู่โจมจึงปฏิบัติการไม่ได้ตามแผน ทำให้ยึดฐานจึงไม่สำเร็จ
ปลายกันยายน 2523 พัน ร. 3443 เปิดยุทธการสิงห์สั่งป่าเพื่อยึดและรักษาเขาค้อทั้งหมดแต่ถูกขัดขวางจาก ผกค. อย่างหนักอีกทั้งบริเวณสันเขารอยต่อจากฐานกรุงเทพฯ จำกัดการเคลื่อนที่ของฝ่ายเราที่ต่อไปเป็นเนินเล็ก ๆ ผกค. ยึดเป็นที่มั่นตั้งรับคาดว่าจะเป็นที่ ตั้งอนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อในปัจจุบัน พัน ร.3443 จึงต้องใช้ยุทธวิธีขุดคูรบเข้าไปยังที่มั่นตั้งรับของ ผกค. ซึ่งขุดคูรบเข้าไปประมาณ 50 เมตรเศษ ได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับที่ตั้งปกติ พัน ร. 3444 คิดจาก ร.4 พัน 4 พ.ท. หาญ เพไทย เป็น ผบ.พัน ก็ผลัดเปลี่ยนและดำเนินการต่อไป ในปี พ.ศ. 2523 การศึกดุเดือดถึงขีดสุดยุทธการครั้งใหญ่เริ่มเปิดฉากขึ้นยุทธการการผ่าเมืองเผด็จศึกยุทการหักไพรี และยุทธการผาเมืองเกรียงไกร เทือกเขาค้อแทบถล่มทลาย ด้วยวัตถุระเบิดที่ต่างฝ่ายต่างขนมาประหัตประหารกันเลือดแลกด้วยเลือด ชีวิตแลกด้วยชีวิต ความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายทวีมากขึ้นจนแทบไม่มีกำลังหลงเหลืออยู่
จวบจนกระทั้งในปี 2525 เสียงปืนเริ่มสงบลงการศึกย่อมมีแพ้ มีชนะ การรบที่ยืดเยื้อมากว่า 15 ปี ยุติลงแล้วความสงบเงียบเริ่มเข้ามาแทนที่เหลือไว้แต่เพียงความพินาศความเสียหาย แมกไม้ป่าทึบท่วมกลางหุบเขาย่อยยับกับแรงระเบิดเมื่อคราวก่อน ซากเศษอาวุธรถถัง ยุทธปัจจัยต่าง ๆ กระจายเคลื่อนอยู่ทั่วบริเวณ ทุกสิ่งทุกอย่างยุติลงแล้ว เหลือไว้ก็เพียงแต่ประวัติการรบที่ห้าวหาญ และน้ำตาญาติพี่น้องของวีรชน  รอ.สุภาพ อ่อนอุดม ผู้ร่วมรบในสงคราม เล่าเหตุการให้ฟังน่าสนใจ  ดร.สมัย เหมั่น รับฟังความรู้เดิม ในบรรยาการที่เขาค้อ จากประสบการณ์การรบที่เขาค้อ สิบตรี สุภาพ อ่อนอุดม เมื่ออดีดที่ผ่านมา

       ดร.สมัย เหมมั่น และ รอ.สุภาพ  อ่อนอุดม ปรึกษา เรื่อง ธุรกิจพอเพียง แรกเปลี่ยนความรู้กันและกัน











ถ่ายรูปร่วมกัน พี่และน้อง











ดร.สมัย เหมมั่น
 ขอขอบคุณ สถานที่พัก อันสบายๆแบบ ไทยๆ น่ารัก เย็นสบาย วิลๆสวยๆ คราฟ

ไร่ ธรรมญู เขาค้อ บรรยากาศดีคราฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น